การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว
อารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายภานุวัฒน์ สมวงศ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.1) หาประสิทธิภาพด้านกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 คน ซึ่งกำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนหนองบัว
ปิยนิมิตร อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบทักษะทางสังคม 4) แบบประเมิน
ความฉลาดทางอารมณ์ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย t – test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว พบว่า ทักษะทางสังคมและความฉลาดอารมณ์ เป็นคุณลักษณะสำคัญที่จำเป็นต้องส่งเสริมให้แก่นักเรียน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (PAPER Model) 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing : P) ขั้นที่ 2 กำหนดเป้าหมาย (Assigning the goal : A) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการ (Practicing : P) ขั้นที่ 4 อภิปรายข้อมูล (Explaining : E) ขั้นที่ 5 รายงานผลและสรุปผลการประเมิน (Reporting and summarizing the evaluation : R)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.12/83.75 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ที่พัฒนาขึ้น มีทักษะทางสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ที่พัฒนาขึ้น มีความฉลาดทางอารมณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก