LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

usericon

วิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
ตามมาตรฐานการ ศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ผู้วิจัย     จรรยา ไกรจันทร์
ตำแหน่ง     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา     2563

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการนิเทศภายใน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายใน และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 32 คน และครูผู้สอน 284 คน รวม 316 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม 15 คน 2) การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน หัวหน้าฝ่ายงานวิชาการ จำนวน 1 คน หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรและการสอน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน และนักเรียน 285 คน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) การประเมินรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1.    สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2.    รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 3 ด้าน 8 ขั้นตอน คือ ด้านที่ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการของการนิเทศภายใน ขั้นตอนที่ 2) กำหนดผู้เกี่ยวข้องและบทบาทการนิเทศภายใน ขั้นตอนที่ 3) กำหนดแผนงานและแนวทางการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง ด้านที่ 2 กระบวนการนิเทศ (Process) ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 4) การเตรียมการนิเทศ ขั้นตอนที่ 5) การดำเนินการนิเทศ ด้านที่ 3 ผลผลิต/ผลลัพธ์ (Output/Outcome) ประกอบด้วยขั้นตอน 6) การประเมินผลการนิเทศ ขั้นตอนที่ 7) การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการนิเทศ และ ขั้นตอนที่ 8) การนำผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศไปใช้
3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
3.1    คุณภาพของผู้เรียนก่อนและหลังจากครูผู้สอนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ก่อนใช้โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 71.10 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.00 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน ผู้เรียนมีคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 20
3.2    คุณภาพของครูผู้สอนก่อนใช้และหลังใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมมีระดับคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.20 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.20 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในครูผู้สอนมีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 25.00
3.3    คุณภาพของผู้บริหารก่อนใช้และหลังใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 76.00 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.15 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในคุณภาพของผู้บริหารสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 15.15
3.4    ความพึงพอใจของผู้บริหาร และครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
3.5    ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่ใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4.    ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ของผู้ประเมิน ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความถูกต้อง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^