การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวทาง Constructivist
สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางฑิฆัมพร คำใบ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๑ โพศรี
อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวทาง Constructivist เพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวทาง Constructivist เพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2) ความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาล ๑ โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จํานวน 30 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าประสิทธิภาพ E1/E2
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แนวทาง Constructivist เพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้น มีกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สังเกตรับรู้ ขั้นที่ 2 ทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้ใหม่ ขั้นที่ 4 ขั้นระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 5 ปรับเปลี่ยนประยุกใช้ และขั้นที่ 6 ทบทวนตรวจสอบ
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ มีประสิทธิภาพ 90.57/87.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80