LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

ผลงานทางวิชาการของนายสรชัย ผลขาว

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทาน
ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย     นายสรชัย ผลขาว
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่พิมพ์     2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการที่จำเป็นใน
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3)รูปแบบกิจกรรมการสอน PRBRAE Model 4) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning (PRBRAE Model) 5) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการพูดและเกณฑ์ประเมินการพูด และ 6) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบ Active Learning (PRBRAE Model) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า
    1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนต้องการที่จะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการพูดมากที่สุด ในขณะที่ต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการเขียนน้อยที่สุด นักเรียนชอบรูปแบบในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด สำหรับวิธีสอนแบบอภิปรายมีค่าร้อยละน้อยที่สุด นักเรียนต้องการเรียนจากตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากที่สุด มีความชอบโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและการเขียนสรุปบทเพลงน้อยที่สุด นักเรียนต้องการเรียนด้วยสื่อหนังสือเล่มเล็กมากที่สุด และต้องการเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะน้อยที่สุด นักเรียนรู้สึกชอบและภาคภูมิใจในกิจกรรมการทำงานกลุ่มมากที่สุด ในขณะที่ชอบการเขียนเรียงความน้อยที่สุด จากการสัมภาษณ์ครูผู้มีประสบการณ์ ในด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สรุปความได้สอดคล้องกันว่านักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีปัญหาการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในทักษะการพูดค่อนข้างสูง ทำให้เกิดความท้อแท้และเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเรื่อยมา รวมถึงตัวนักเรียนขาดความขยันหมั่นเพียรในการท่องศัพท์ การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถทำงานกลุ่มร่วมกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถฝึกพูดภาษาอังกฤษได้อย่างสะดวกสบายซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    2) ผลการพัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทาน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมา โดยรูปแบบมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม สิ่งที่เสริมการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนองและสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอนแบบ Active Learning (PRBRAE Model) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นนำเสนอรูปแบบ (Presentation Stage) 2) ขั้นการอ่านนิทาน (Reading Practicing Stage) 3) ขั้นการทำหนังสือเล่มเล็ก (Booklet Making Stage) 4) ขั้นการฝึกซ้อมการเล่าเรื่องประกอบการแสดง (Rehearsal Stage) 5) ขั้นการเล่านิทานประกอบการแสดง (Action Story Stage ) และ 6) ขั้นประเมินผลและแสดงผลงาน (Evaluation Stage ) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และผลการพัฒนารูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 79.11/81.50
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทาน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี นำเสนอผลงานเป็นที่น่าพอใจและทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และจากการปรับปรุงรูปแบบการสอน ตามข้อคิดเห็นของนักเรียน เพื่อนครู และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้นิทานภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสมบูรณ์และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น





TITLE:    The Development of Active Learning to Enhance the speaking Ability of
Matthayomsuksa 5 Students
AUTHOR:     Mr. Sornchai Ponkhao
PUBLISHED YEAR: 2020    

ABSTRACT

    The purpose of this research was to develop Active Learning to enhance the speaking ability of Matthayomsuksa 5 students. There were 4 steps in the development process: 1) to survey the fundamental data concerned, 2) to design and develop the instructional model 3) to implement the developed instructional model and 4) to evaluate and improve the developed instructional model. The subjects selected by cluster random sampling were 32 students of class 5/2 in the first semester of 2020 in Phibunmangsahan School, Ubonratchathani. The instruments employed for the data collection consisted of: 1) the questionnaire to collect the fundamental data, 2) the interview form for the language teachers, 3) the PRBRAE Model to enhance speaking ability 4) the lesson plans for PRBRAE Model, 5) the writing proficiency test and the evaluation criteria, and 6) the satisfactory questionnaire toward the instructional model. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, content analysis, and t-test dependent.

    The results were as follows:
    1. The preliminary data investigation revealed that the students wanted to develop their speaking skill the most. They wanted to learn from the university entrance tests but they didn’t like the grammatical structures. Moreover, the students were interested in studying by communicative approach with speaking exercise packages because they wanted to practice and improve their speaking skill for daily life communication. English teachers agreed that the students from Matthayomsuksa 1-6 still had lots of problems in studying English especially in speaking skill. And these problems discouraged and bored them with studying in class. Thus, by using communicative and child-centered methodology could help the English teaching process more effective and solve the students’ speaking problems.
    2. The instructional model developed was called PRBRAE Model. It consisted of principles, objectives, syntax, instruction, social system, principal of reaction and support system. There were 6 stages of the model activities as follows: 1) Presentation Stage 2) Reading Practicing Stage 3) Booklet Making Stage 4) Rehearsal Stage 5) Action Story Stage and 6) Evaluation Stage Assessment Stage. The effective criteria of PRBRAE Model (E1/E2) was 79.11/81.50.
    3. The implementation of the instructional PRBRAE Model was found that students were interested and enthusiastic in teaching process. They also well participated during the speaking activities and presented lots of good presentation. And the students’ speaking ability after studying by the instructional PRBRAE Model was significantly higher than the criteria of 80% at the .05 level.
    4. The evaluation of the instructional PRBRAE Model showed the satisfaction of students toward the studying by the PRBRAE Model as a whole was at the highest level. The data gathered from the students’ and the teachers’ comments and the suggestions from the experts were brought to improve the instructional PRBRAE Model so it could be used more perfectly and effectively.
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^