การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึก
Development of science learning achievement of Fifth Grade Students Using STEM Education, Subject Force and energy
ธีระศักดิ์ อินตัน
โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง)
สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง แรงและพลังงาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง แรงและพลังงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง แรงและพลังงาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและพลังงาน จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาเรียนในชั่วโมงเรียน เป็นเวลา 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก รวม 20 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t–test) พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) มีประสิทธิภาพ โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.60 / 83.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง แรงและพลังงาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียน ( , S.D.) (16.64, 1.25) สูงกว่าก่อนเรียน ( , S.D.) (9.12, 1.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) อยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.92)
คำสำคัญ : สะเต็มศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจ แรงและพลังงาน
Abstract
This research aims 1) to create and evaluate the efficiency of the STEM learning activity serie to meet the standard of 80/80, 2) to compare science learning achievement of Fifth Grade Students learning using the STEM learning activity series and 3) to study students satisfaction toward using STEM learning activities. The target group were the 5th grade students, 1st semester, academic year 2020, 25 students from Tassaban 1 (bansateng) school, Muang District, Yala. The instruments were 1) The STEM learning activity serie, 2) Electricity learning management plan, 3) Science achievement test, and 4) A ameasure of student satisfaction toward STEM education. The statistics used to analyzed data including the means of mean, standard deviation and t-test. The research results were as follows : 1) The STEM learning activity serie is a powerful learning activity. The efficiency is 82.60 / 83.20, which is higher than the standard 80/80. 2) science learning achievement in the topic of Force and energy of the student after learning by activity based learning by STEM education ( , S.D.) (16.64, 1.25) higher than the before learning ( , S.D.) (9.12, 1.27) with the statistically significance .05 level. And 3) the satisfaction level of students towards using STEM learning activities as a whole was in a highest level ( = 4.92).
keywords : stem education, learning achievement, satisfaction, force and energy