การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน
พัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
ชื่อผู้ประเมิน : นางภาณัททกา วงษากิตติกุล
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2562 – 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) มี วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องด้นของ โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4. เพื่อประเมินผลผลิตของ โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.2 ความคิดเห็นของ ชุมชนที่มีต่อโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.3 ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาร่วมกับชุมชนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.4 คุณภาพผู้เรียนหลังดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.4.2 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษามี งานทำและได้ศึกษาต่อ 4.5 จำนวนแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมกิจกรรมในโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 4.6 ผลกระทบ/ จำนวนรางวัลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ 4.7 ผลจากการสัมภาษณ์โดยภาพรวมด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 341 คน ได้แก่ คณะกรรมการวิทยาลัย จำนวน 14 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 32 คน ผู้เรียน จำนวน 202 คน และบุคคล ในชุมชน จำนวน 90 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้เรียน จำนวน 15 คน และบุคคลในชุมชน จำนวน 10 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมิน แต่ละด้านสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านบริบท โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ รองลงมาได้แก่ ความต้องการของการทำโครงการ และ รายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ความสอดคล้องของการวัตถุประสงค์ ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การ ประเมินที่กำหนดไว้
2. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องด้น โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ รองลงมาคือ ความเหมาะสมของงบประมาณ และ รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความเหมาะสมของบุคลากร ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การ ประเมินที่กำหนดไว้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผน (Plan) อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็น การดำเนินการ (Do) อยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การติดตามและประเมินผล (Check) อยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งประกอบด้วย
4.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาร่วมกับชุมชนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4.4 คุณภาพผู้เรียนหลังดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาบูรณาการร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ หลังดำเนินงาน ตามโครงการสูงกว่าก่อนการดำเนินงานตามโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 95.80
4.4.2 ผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำและได้ศึกษาต่อหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานตาม โครงการ ร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 จำนวนแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมกิจกรรมและให้การสนับสนุนวัสดุ/เครื่องมือ และ ครุภัณฑ์ในโครงการส่งเสริมการบูรณาการจัดการศึกษาร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ คิดเป็นร้อยละ 83.33 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลกระทบ/จำนวนรางวัลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่าน เกณฑ์การประเมิน
4.7 ผลการสัมภาษณ์ โดยสรุปเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้เรียนและการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาเป็นการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา