การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการแก้ป
ในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2
ผู้วิจัย นางวิภา อินทรหนองไผ่
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสำรวจวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบประเมินการปฏิบัติงาน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ (แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Sample และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนสนใจการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความมีส่วนร่วม การสืบค้นข้อมูล การฝึกทักษะการคิดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญสอนวิชาวิทยาศาสตร์เห็นด้วยกับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่สนใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ต่ำ
ระยะที่ 2 ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาจากข้อมูลพื้นฐานระยะที่ 1 ได้รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่ชื่อว่า “รูปแบบเอสซีไอเอซีที (SCIACT Model)” โดยรูปแบบมีองค์ประกอบมี 6 ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระการเรียนรู้ 4) กระบวนการเรียนรู้มีขั้นตอน 6 ขั้นได้แก่ 4.1) ขั้นสำรวจและนิยามปัญหา (Survey and Define the problem : S) 4.2) ขั้นรวบรวมและตัดสินใจข้อมูล (Collect for resolve : C) 4.3) ขั้นระบุสมมติฐาน (Identify assumptions : I) 4.4) ขั้นจัดกระทำ (Action : A) 4.5) ขั้นสรุปและนำไปใช้ (Conclusion and Apply : C) 4.6) ขั้นประเมินผล (Teaching Evaluate : T) 5) การวัดผลและประเมินผล และ6) สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งได้ผลดังนี้
ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชียวชาญ ภาพรวมทุกด้าน ในระดับ มากที่สุด (X ̅ = 4.78, S.D. = 0.41)
ผลการทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่ม Try out โดยการหาประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า E1/E2 เท่ากับ 81.22/80.63 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยนำรูปแบบที่ได้มีการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบในระยะที่ 2 แล้วมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
ระยะที่ 4 ผลการประเมินรูปแบบโดยสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีระดับความถึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.26, S.D. = 0.71)
Title : Development of Instructional Models to enhance ability in solving problems with scientific judgment of secondary school students 2nd year
Researcher: Mrs. Wipa Intaranongphai
Position : Senior Professional Level Teachers
School : Phibun Mangsahan School Under the Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization
Academic year : 2020
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the basic information for the development of teaching and learning models. To enhance the ability to solve problems with scientific judgment of MathayomSuksa 2 students 2) To develop teaching and learning models To enhance the ability to solve problems with scientific judgment of Mathayomsuksa 2 students to be effective according to the 80/80 criteria. 3) To test the teaching style. To enhance the ability to solve problems with scientific judgment of Mathayom Suksa 2 students 4) To evaluate the teaching style. To enhance the ability to solve problems with scientific judgment of Mathayomsuksa 2 students, the sample group used in this research. He is a Mathayom 2/3 student at Phibun Mangsahan School. PhibunMangsahan District Under the UbonRatchathani Provincial Administrative Organization There were 40 students in the first semester of the academic year 2020. The research instruments consisted of 1) a survey of students' learning methods 2) an interview form with experts 3) a learning management plan with a teaching and learning model. to enhance the ability to solve problems with scientific judgment (Academic Achievement Measure and a scientific critical problem-solving skill questionnaire; to strengthen the ability to solve problems critically Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test using Dependent Sample and content analysis.
The results showed that
Phase 1: The results of the study of basic information revealed that the students were interested in teaching and learning in basic science subjects. with a learning process that promotes the ability to solve problems scientifically This is because students play an important role in learning through hands-on activities. participation data retrieval thinking skills training and exchanging knowledge Science teaching experts agree to develop the potential of teaching and learning to be effective. to solve the problem of students not interested in studying and low achievement
Phase 2: The results of the development and efficacy of the teaching and learning model for enhancing the ability to solve problems with scientific judgment. Of students in Mathayomsuksa 2 that the researcher designed and developed from the basic information in Phase 1 has a teaching and learning process model called “SCIACT Model”, which has 6 components: 1) Principle 2) Objectives 3) Learning subject 4) The learning process has 6 steps: 4.1) Steps Explore and define the problem (S) 4.2 Collect for resolve (C) 4.3 Identify assumptions (I) 4.4 Action (Action) 4.5) Conclusion and Apply (C) 4.6) Assessment (Teaching Evaluate: T) 5) Measurement and Evaluation and 6) Learning support: social systems, response principles. and support which results as follows
The results of assessing the suitability of the model from experts. Overall view of all aspects at the highest level (X ̅ = 4.78, S.D. = 0.41)
The experimental results of applying the pattern to the Try out group. To find the efficiency of the model, it was found that E1/E2 was 81.22/80.63, which met the specified criterion, 80/80.
Phase 3: Experimental results using a teaching and learning model to promote the ability to solve problems scientifically. Of the students in Mathayom 2 by applying the model that has been developed and finding the effectiveness of the model in phase 2 and applying it to the sample group, it was found that the students were able to solve problems with scientific judgment. After studying with a teaching style to promote the ability to solve problems scientifically. of secondary school students, higher than before and there was a statistically significant difference of .05.
Phase 4: The results of the model assessment by asking students' satisfaction with the teaching style to enhance their ability to solve problems scientifically. Of the students in Mathayomsuksa 2, it was found that the students had a high level of overall satisfaction (X ̅= 4.26, S.D. = 0.71)