การวิจัยและพัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ผู้วิจัย นายอักขราทร อ่อนยอ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) พัฒนาชุ ดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ 4) ประเมินผลการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 9 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ควรมีภาพปรกอบสีสันสวยงาม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง มีเนื้อหาที่ให้ความรู้ มีการวัดผลประเมินผลหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละชุด
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วย ( คำนำ วัตถุประสงค์ คำขี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ บทบาทของผู้เรียน ใบความรู้ใบงาน แบบทดสอบ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 9 ชุด ได้แก่ 1) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) หลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชา 4) เศรษฐกิจพอเพียง “เกษตรทฤษฎีใหม่” 5) เศรษฐกิจพอเพียง “ โคก หนอง นา โมเดล 6) การผลิตสินค้าและการบริการในท้องถิ่น 7) เศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนและโรงเรียน 8) เศรษฐกิจพอเพียงในสังคมและชุมชน และ 9) เศรษฐกิจพอเพียงกับสหกรณ์) และประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.55/85.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้ ผลการทดลองใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3. พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วย ชุดกิจกรรม
การเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสุขและสนุกกับการเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนที่นำมาทดลองใช้นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ประกอบการเรียนรู้
ผลการประเมินผลและปรับปรุง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
4. พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มร่วมกันภาพรวมอยู่ในระดับดี และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุด