การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จาก
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ผู้วิจัย นายอักขราทร อ่อนยอ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลบูรพา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและประเมินคุณภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม
ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานีจากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5/1 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่ม
แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
(Experimental Research) แบบแผนการวิจัยคือแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและทดสอบหลังเรียน
(The One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด
เล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้
หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานีจากอดีตสู่ปัจจุบัน จำนวน 6 แผน ใช้เวลาในการเรียนรู้ 12
ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานีจากอดีตสู่ปัจจุบัน จำนวน
40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัด
อุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชา
ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 6 เล่ม ระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.59, S.D.=0.18) ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จากอดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระ
2. การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทั้ง 6 เล่ม ได้แก่ 1) การก่อตั้งเมือง
อุบลราชธานี 2) การแบ่งหัวเมืองต่างๆ 3) การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4) ภูมิหลังด้านโบราณคดี 5) ประเพณีแห่เทียนพรรษา 6) อุบลราชธานีในปัจจุบัน มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.86/85.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเล่าเรื่องจังหวัดอุบลราชธานี จาก
อดีตสู่ปัจจุบัน วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.=0.14)