การจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach)
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุธิตา เจริญจิตต์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ดำเนินการ 2563
บทคัดย่อ
การจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้” เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้”ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้” ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้” ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที t – test ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้” ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 82.07/85.43 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้” ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) “หนูน้อยนักทดลองวิทย์คิดสนุก : ข้าวมหัศจรรย์เส้นขนมจีนเปลี่ยนสีได้” ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 , S.D. = 0.67)