LASTEST NEWS

04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน

usericon

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่น
เป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์
75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อ
เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน สังกัดเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการ
เรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากัน 75.85/75.80 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วย
การเรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6741 แสดงว่านักเรียนมี
ความก้าวหน้าในการเรียนหรือมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 67.41
3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการ
เรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษหลัง
เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรม
การเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสื่อสารภาษาอังกฤษ มีความสามารถในการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้านทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
4. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการ
เรียนรู้ Long Neck Grandmother สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูง
กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบเชิงรุก, การเรียนรู้โดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐาน, ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ

Abstract
The objectives of this research were as follows: 1) to find the efficiency of active learning activities
using local as a base of English subject of Long Neck Grandmother unit for Mathayomsuksa 5 students
with criterion 75/75, 2) to study student learning outcomes consist of an index of learning effectiveness,
and comparison of communication ability before and after class. The sample groups are Mathayomsuksa
5/ 1 , Mae Hong Son Municipal School under Mae Hong Son Municipality Mae Hong Son Province in the
second semester of the academic year 2019, a total of 31 students were obtained by Cluster Random
Sampling, using the classroom as a sampling unit. The research instrument were a local- based active
learning activity plan, achievement test, communication ability test, an attitude towards learning English,
and the satisfaction questionnaire of grade 5 students. The statistics used for data analysis were
percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing using t- test Dependent Samples statistics.
The results showed that;
1. The efficiencies of local- based active learning activities for the English subject of Long Neck
Grandmother for students in Mathayomsuksa 5 found that the quality assessment results of experts found
that the quality of the appropriateness of the learning management plan was at a high level, and the
effectiveness of the learning activities plan was the same, 75.85/75.80 met the 75/75 criterion.
2. A study of student learning outcomes from learning management with active learning activities
using local as a base for the English subject of Long Neck Grandmother unit for Mathayomsuksa 5 students
was found to have an Effectiveness Index of 0. 6741, indicating that 67. 41% of students had progress in
their studies.
3. Mathayomsuksa 5 students had a high level of English communication after school than before
school the statistical significance at the . 05 level, both overall and in all aspects, including listening,
speaking, reading and writing.
4. Students who studied with a local- based active learning activity plan in English subject of
Long Neck Grandmother unit for Mathayomsuksa 5 students with an attitude towards learning English
after school was higher than before with statistically significant at the .05 level.
Keywords: active learning, local-based learning, English communication abilities


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^