LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน

usericon


การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนบัวใหญ่ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนบัวใหญ่ จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นเวลา 16 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ และ3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-Bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ และต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    2. ได้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี 2) สาระสำคัญ 3) มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด 4) จุดประสงค์ 5) สาระการเรียนรู้/เนื้อหาภาษา 6) กิจกรรมการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน (E Q L C R E Model) คือ 6.1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิมและเร้าความสนใจ (Eliciting and Engagement : E) 6.2) ขั้นเรียนรู้ การตั้งคำถาม สงสัย ใคร่รู้ (Learning to Question : Q) 6.3) ขั้นเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Sharing : L) 6.4) ขั้นสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Concluding Ideas : C) 6.5) ขั้นสะท้อนผลการเรียนรู้ (Reflecting : R) 6.6) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluating : E) 7) บทบาทครู 8) บทบาทนักเรียน 9) สมรรถนะของผู้เรียน 10) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 11) ชิ้นงานและภาระงาน 12) แหล่งเรียนรู้ 13) การวัดและประเมินผล ที่ มีความเหมาะสม สอดคล้อง และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
    3. ผลการนำรูปแบบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบัวใหญ่ พบว่า นักเรียน มีความรู้ ความสามารถในการอ่านภาอังกฤษ โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
    4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^