ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพ
ของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 1 (ซอย 6) ตำบลโคกตูม
อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวปวีณา สนพลอย
ปีที่ทำการวิจัย : ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 1 (ซอย 6) ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิทยาคิว(Q Methodology) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 273 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 314 คน โดยวิธีการแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และความโด่ง สถิติภาคอ้างอิงใช้ในการวิเคราะห์ ค่าวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในรูปเมตริกซ์การผันแปรร่วม ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้น้ำหนักขององค์ประกอบวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง(Path Analysis) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามในการสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง(Focus Group Interview)
ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล 1 (ซอย 6) เชิงปริมาณ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านงานบริหารวิชาการ มีองค์ประกอบ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านแผนการจัดการเรียนรู้มาตรฐาน ส 3.1 และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) ปัจจัยด้านงานบริหารบุคคล มีองค์ประกอบ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพของครู ด้านระเบียบวินัย และการรักษาวินัยครู และด้านการส่งเสริมความรู้และคุณธรรมครู 3) ปัจจัยด้านงานแผนงานการเงินและงบประมาณ มีองค์ประกอบ ด้านการใช้เงินอย่างคุ้มค่าและประหยัดที่สุด ด้านใช้งบประมาณอย่างประหยัด และด้านการวางแผนใช้เงินตามระเบียบ 4) ปัจจัยด้านงานบริหารทั่วไป มีองค์ประกอบ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาเครือข่ายการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และด้านบริการสาธารณะ 5) ผู้บริหารสถานศึกษา มีองค์ประกอบ ด้านการพัฒนาแหล่ง เรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน และด้านการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม และ 6) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านการพึ่งตนเอง ด้านการรวมกลุ่ม ด้านการสร้างเครือข่าย และด้านความสมดุล และการพัฒนาที่ยั่งยืน โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล 1 (ซอย 6) ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้อง
ข
กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์(X2) เท่ากับ 35.27 ค่าองศาอิสระ(df) เท่ากับ 68 ค่าความน่าจะเป็น(p) เท่ากับ 0.999 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน(GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(AGFI) เท่ากับ 0.95 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของ ความคลาดเคลื่อน(RMSEA) เท่ากับ 0.00 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.05 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ(RMR) เท่ากับ 0.036 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์ และค่าขนาดตัวอย่างวิกฤต(CN) เท่ากับ 657.93 โดยมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย คือ ปัจจัยด้านงานบริหารวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านงานบริหารทั่วไป ปัจจัยด้านงานบริหารบุคคล และปัจจัยด้านงานแผนงานการเงิน และงบประมาณ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ 0.91,0.74, 0.02, -0.41 และ -0.48 อิทธิพลทางอ้อมมีปัจจัยด้านงานบริหารทั่วไป ปัจจัยด้านงานบริหารบุคคล ปัจจัยด้านงานบริหารวิชาการ และปัจจัยด้านงานแผนงานการเงินและงบประมาณ โดยส่งผ่านผู้บริหารสถานศึกษามีค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ 1.08, 0.37, 0.32 และ 0.10 ส่วนอิทธิพลรวม พบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล 1 (ซอย 6) ปัจจัยด้านงานบริหารทั่วไปและผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ 1.10 และ 0.74 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยด้านงานบริหารวิชาการ ปัจจัยด้านงานบริหารบุคคล และปัจจัยด้านงานแผนงานการเงินและงบประมาณ มีค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ 0.59,-0.05 และ -0.38 ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติ
การวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเองให้ได้ก่อนขยายผลต่อผู้อื่น