LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
         ของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
         กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง)
ผู้รายงาน    : ธาริณี จินดาธรรม
ปีการศึกษา    : 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินคือ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากรในโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) ปีการศึกษา 2563 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน (ไม่รวมครูผู้รับผิดชอบโครงการ) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 114 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่
ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินบริบท (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) : ด้านผลลัพธ์ (Output Evaluation) และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) : การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) พบว่า
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.61,เบี่ยงเบน=0.38) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านบริบท (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (เฉลี่ย=4.94,เบี่ยงเบน= 0.19) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I)
(เฉลี่ย=4.70,เบี่ยงเบน=0.31) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) (เฉลี่ย=4.59,เบี่ยงเบน=0.53) และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) (เฉลี่ย=4.22,เบี่ยงเบน=0.47) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.94,เบี่ยงเบน= 0.19) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านความต้องการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (เฉลี่ย=5.00,เบี่ยงเบน=0.05) รองลงมา คือ ด้านความจำเป็นของโครงการ (เฉลี่ย=4.98,เบี่ยงเบน=0.12) ด้านความเหมาะสมของโครงการ (เฉลี่ย=4.96,เบี่ยงเบน =0.20) และความคาดหวังของโครงการ (เฉลี่ย=4.83,เบี่ยงเบน=0.40) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.70,เบี่ยงเบน= 0.31) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (เฉลี่ย=4.95,เบี่ยงเบน=0.05) รองลงมา คือ ด้านนักเรียน (เฉลี่ย=4.78,เบี่ยงเบน=0.51) ด้านการบริหารจัดการ (เฉลี่ย=4.72,เบี่ยงเบน=0.38) ด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก (เฉลี่ย=4.69,เบี่ยงเบน=0.24) ด้านการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ (เฉลี่ย=4.68,เบี่ยงเบน =0.42) ด้านหลักสูตรการจัดกิจกรรม (เฉลี่ย=4.63,เบี่ยงเบน=0.34) ด้านผู้ปกครอง (เฉลี่ย=4.57,เบี่ยงเบน=0.44) และด้านงบประมาณ (เฉลี่ย=4.44,เบี่ยงเบน=0.28) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.59,เบี่ยงเบน=0.53) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อสอบถามข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน พบว่า มีค่าเฉลี่ย (เฉลี่ย=4.68,เบี่ยงเบน=0.34) และสอบถามจากผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ย (เฉลี่ย=4.50,เบี่ยงเบน=0.71)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย=4.22,เบี่ยงเบน= 0.47) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งด้านการประเมินผลลัพธ์ (Output Evaluation) (เฉลี่ย=4.30,เบี่ยงเบน=0.27) และด้านการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) (เฉลี่ย= 4.15,เบี่ยงเบน=0.67)


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^