การพัฒนารูปแบบการการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นายติณณ์ บุญแต่ง
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนใน โรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหารสวนจังหวัด อุบลราชธานี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ผลการวิจัย
1. สภาพการดำเนินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ทั้ง 6 ขัน โดยภาพรวมพบว่า มีการ ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 5 ขั้น โดยเรียงลำดับได้แก่ ขั้นที่ 6 การประเมินผลการพัฒนาครูเพื่อการ จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมายมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ขั้นที่ 3 การวางแผนการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขั้นที 4 การ จัดกิจกรรมพัฒนาครูเพื่อจดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขั้นที 5 การประเมินการ พัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และขั้นที่ 1 การสำรวจสภาพความต้องการครูผู้สอน ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และ ขั้นที่ 6 การประเมินผลการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้การจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับปานกลาง 1 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การสำรวจครูผู้สอนในพัฒนาการ จัดการเรียนรู้
2. การสร้างรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
2.1 การสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการ
จัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวด อุบลราชธานี ได้ผลการสร้างรูปแบบเป็น 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 การเป็น ผู้นำ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในการบริหารจัดการชมชนที่ดี ประยุกต์ใช้ความรู้ คิดอย่างเป็นระบบ ควบคุมเกณฑ์มาตรฐานการเป็นผู้นำที่ดี สนับสนุนและการ แลกเปลี่ยนภาวะผู้นำ ให้อิสระแก่ครูในการพัฒนาความเป็นผู้นำของตนเองและวางแผน ประยุกต์ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ มีความรอบรู้แห่งตน รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ สร้าง ความสัมพันธ์ มีความมุ่งมั่นแห่งตน ร่วมเป็นผู้นำ มีทักษะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการสื่อสารที่ดี สนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมกัน กระจายความเป็นผู้นำทางวิชาชีพความเป็นผู้นำที่ สนับสนุนและแบ่งปัน ผู้นำทางนวัตกรรมและการวิจัย ความมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลักการมีผู้นำที่ดีมีทักษะการคิด การคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา รูปแบบความคิดและมุมมองที่ เปิดกวาง มีความสนใจ เป็นผู้นำในการสรรสร้างนวัตกรรมและสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหาร ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมตัดสินใจ และร่วมประเมินผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงาน วางแผนและกำหนดเป้าหมายร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง บุคคล มีการเรียนรู้ของทีม ประสานความร่วมมือในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะ บรรลุเป้าหมายร่วมกันในการเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ร่วมกัน ส่งเสริมการยอมรับและความเชื่อถือไว วางใจในการทำงานร่วมกัน ทำงานแบบร่วมมือรวม พลังชวยเหลือเกื้อxxxลกันของทุกคนในการเรียนรู้และสร้างสรรค์การปฏิบัติงาน เรียนรู้ร่วมกันและการ ประยุกต์ใช้ความรู้สร้างความตระหนักร่วมกันเพื่อมุ่งสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน สร้างทีมและเครือข่าย การเรียนรู้ทีมงานร่วมแรงร่วมใจ หรือร่วมมือร่วมพลัง แสวงหาความรู้ทางวิชาชีพร่วมกันและมีการ วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและของงานบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และมีแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกันองค์ประกอบที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การบริหารการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพหลักการสร้างระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศการจัดเก็บและการนำมาใช้ขององค์ความรู้ที่ดี การประชุมหาทางออกเกี่ยวกับ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน การแบ่งปันบทเรียนออนไลน์สู่การปฏิบัติ เน้น หลักการ สื่อสารแบบสองทางเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกื้อxxxลระหว่างกันการสนับสนุนการเรียนรู้ของ กลุ่ม และบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน การปรึกษาหารือพดคุยในประเด็นของการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องแนวคิดและข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยมาปรับเปลี่ยนแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความ ต้องการของนักเรียน การส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 การมีวิสัยทัศน์ร่วม ประกอบด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมการสร้างภาพความ เชื่อมโยงและทิศทางร่วมไปสู่โรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีวิสัยทัศน์เชิงอุดมการณ์ของ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การสร้างค่านิยมและเป้าหมายร่วมกัน องค์ประกอบที่ 5 ชุมชน กัลยาณมิตร ประกอบด้วยการเป็นชุมชนกัลยาณมิตรต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร มีหลักการมี กรรมการชุมชนที่มีจริยธรรมและมีการบริหารจัดการชุมชนที่ดี การมีวัฒนธรรมร่วมมือกันที่เน้นไปที่ การเรียนรู้ และวัฒนธรรมความร่วมมือเพื่อเป้าหมายทางการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 6 โครงสร้างการ บริหารชุมชน ประกอบด้วย โครงสร้างสนับสนุนชุมชน เงื่อนไขที่ช่วยผดุงความเป็นชุมชนแห่งการ เรียนรู้ การสนับสนุนปัจจัยแวดล้อมในเชิงบวกทั้งภายในและภายนอก องค์ประกอบที่ 7 การติดตาม ผล ประกอบด้วย ติดตามผลจากการลงมือทำและเรียนรู้จากการปฏิบัติ ติดตามผลจากการรวบรวม การค้นหา การปฏิบัติที่ดีที่สุด และสภาพปัจจุบัน หลักการสร้างเครือข่ายและการติดตามผล
2.2 รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอน โรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานี ทั้ง 7 องค์ประกอบมีความเหมาะสม และคู่มือการใช้รูปแบบ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียน บัวงามวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีความเหมาะสม
2.3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยาหลังจากใช้รูปแบบชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมเสร้างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมาก
2.4 ผลการประเมินรูปแบบ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบัวงามวิทยา องค์การบริหารสวนจังหวัด อุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ด้านความมี ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 ด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.46 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87