การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ : ครูปิยชาติ
และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ปิยชาติ พร้อมใจ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียน กุงเจริญพิทยาคม อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (PIYACHAT Model) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะปฏิบัติของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test Dependent Sampling) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล พบว่า 1) นโยบายการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดนโยบายพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ 2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะปฏิบัติ ทักษะการทำงาน รู้จัก เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของตนและผู้อื่น รักการออกกำลังกายและเล่นกีฬา มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดี 3) สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน กุงเจริญพิทยาคม ปีการศึกษา 2560 - 2561 ด้านทักษะปฏิบัติ ทักษะกระบวนการของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ 4) สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน นักเรียนยังขาดทักษะปฏิบัติในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และ 5) แนวคิดตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติควรให้ผู้เรียนสร้างความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยตัวผู้เรียนเอง
2. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า PIYACHAT Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะปฏิบัติ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคม และสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P) 2) ขั้นแนะนำและเสนอผลยินยอมปรับเปลี่ยนแนวคิด (Instruction and Yielding : IY) 3) ขั้นปฏิบัติ (Action : A) 4) ขั้นสร้างความรู้และฝึกให้ชำนาญ (Construction and Habitualing : CH) และ 5) ขั้นการประเมินผลและการถ่ายโยง (Assessment and Transfer : AT) และรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.20/91.40 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 ทักษะปฏิบัติของนักเรียนเป็นกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับดี ทุกแผนการจัด การเรียนรู้
3.2 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 คะแนนทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด