LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

ชื่อผลงาน SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี อ่านต่อได้ที

usericon

แบบนำเสนอผลงาน
ข้อมูลการนำเสนอผลงาน นวัตกรรม วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practice)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ชื่อผลงาน SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี

ข้อมูลทั่วไป
๑.ชื่อสถานศึกษา(ไทย) : วัดโสมนัส ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) เลขที่ 646/2
ตำบล : วัดโสมนัส : เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัด : กรุงเทพมหานคร สพป. กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10300 โทร 094- 4916491 E mail Indyweboss 1 @ gmail .com
๒. ผู้รับผิดชอบ
๒.๑ นายกวี รักษ์พลอริยคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโสมนัส
โทร 094- 4916491 E mail     Indyweboss 1 @ gmail .com
๒.    บทสรุป
สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
รากของปัญหาด้านการทุจริต คอรัปชั่นทั้งเชิงนโยบายและ การทุจริตเชิงโครงสร้างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น จนเกิดเป็นพฤติกรรมความเคยชินในสังคม ซึ่งปัจุบันได้ลุกลามสู่เยาวชนจนสามารถพบเห็นและรับรู้ได้ทางสื่อโซเชียลต่างๆ ได้ แม้แต่ในสถานศึกษา เช่นการทุจริตโครงการอาหารกลางวันนักเรียน การทุจริตสนามกีฬา หรือพฤติกรรมที่นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาก่ออาชญากรรมปล้นร้านทอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๕ คั้งแก๊งโจรกรรมที่คอยตระเวนขึ้นบ้านต่างๆ เพื่อขโมยทรัพย์สิน เงินทอง พระเครื่อง แม้กระทั่งอาหารเครื่องดื่มของสหกรณ์โรงเรียน ไม่เว้นแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้บั่นทอนและย้อนแย้งต่อการปลูกฝังคุณธรรมความดีงามอันเป็นแก่นแท้หลักของระบบการศึกษา อย่างไรก้ดีโรงเรียนเป็นสถานที่บ่มเพาะปลูกฝังสร้างเสริม หล่อหลอมให้ผู้เรียนทุกระดับเกิดการเรียนรู้ ชี้ถูกชี้ผิดสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ทางปัญญาติดตัวไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคม ช่องว่างรอยโหว่ของระบบการศึกษาคือการสร้างตัวแบบและปลูกฝัง ต่อยอดระบบการคิดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบนความเชื่อมั่นที่ถูกที่ควร ในผลของการเป็นผู้มีคุณธรรมความดีงานในการดำเนินชีวิต
การปลูกฝังทักษะความคิดเชิงระบบที่มีขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลรองรับนี้ จึงเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างและส่งเสริมให้ผู้เรียนให้เติบโตไปเป็นพลเมืองคุณภาพออกสู่สังคมเพื่อไปพัฒนาประเทศเพื่อแก้ปัญหา และตอบโจทย์ สร้างสิ่งที่สะท้อนผลของการมีค่านิยมที่ยึดมั่นในความมีคุณธรรมความซื่อสัตย์ให้เป็นคุณสมบัติที่ดีติดตัว อันเป็นความสำเร็จในการผลิตคนดีมีคุณธรรมสู่สังคมอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นข้าพเจ้าจึงนำแนวคิดในการต่อยอดการพัฒนาโรงเรียนวัดโสมนัสโดยการนำวัตกรรมการบริหารงานสถานศึกษา “SPIRIT SCHOOL โรงเรียนสร้างคนดี” นวัตกรรมการบริหารงานในโรงเรียนวัดเนกขัมมาราม ที่ข้าพเจ้าได้ริเริ่มสร้างสรรค์ และพัฒนาขึ้น โดยสร้างความร่วมมือกับคณะครูและบุคลากรดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารงานสถานศึกษาเสริมสร้างคุณธรรมลงสู่ตัวผู้เรียนอย่างเป็นระบบจนประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับและได้รับรางวัล หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม เหรียญทองแดง ระดับภูมิภาค จากคุรุสภา ประจำปี ๒๕๖๔
ทั้งนี้เมื่อข้าพเจ้าได้ย้ายสถานศึกษามายังโรงเรียนวัดโสมนัส สังกัดสพป. กรุงเทพมหานคร จีงเห็นความสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษาเชิงระบบและได้นำ “SPIRIT SCHOOL โรงเรียนสร้างคนดี” โดยได้รับการยินยอมเป็นลายลักษร์อักษรจากคณะครูผู้ร่วมพัฒนานวัตกรรม โรงรียนวัดเนกขัมมาราม ในการให้สามารถมาพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมได้เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้ขึ้นมา จึงได้นำมาสร้างเสริมให้ตรงกับสถานศึกษาในบริบทใหม่ ในชื่อ SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี” ให้เป็น Best Practice ในด้านการบริหารงาน โรงเรียนวัดโสมนัส โดยปรับบริบทบางส่วนของนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของโรงเรียนวัดโสมนัส และยังคงยึดแนวทางในการน้อมนำพระบรมราโชบายในรัชกาลที่ ๖ ที่ทรงต้องการ “เยาวชนที่มีอุปนิสัยใจคอดี มีความซื่อสัตย์สุจริต” อีกทั้งพระบรมราโขวาทในรัชการที่ ๙ ที่ทรงให้ยึดหลัก”มุ่งส่งเสริมคนดี” และในพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในรัชกาลที่ ๑๐ ที่ทรงเน้นด้านความเป็น “คนดีมีระเบียบวินัย การมีน้ำใจจิตอาสา” มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ เช่นดังเดิม
SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี” ที่โรงเรียนวัดโสมนัส จึงเป็นผลงานการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม การบริหารจัดการสถานศึกษาซึ่งเป็น Best Practice ที่พัฒนาปรับบางส่วนขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาโรงเรียนวัดโสมนัส และเสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลที่สามารถนำไปเป็นตัวแบบหรือโมเดลต้นแบบให้แก่สถาบันการศึกษาแห่งอื่นได้นำไปปรับใช้และพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สามารถบูรณาการเชื่อมโยง รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาลงสู่การเสริมสร้างมีส่วนร่วมด้วยการวางระบบการปลูกฝังคุณธรรม เน้นศักยภาพความสำเร็จลงสู่ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ได้อย่างยั่งยืน

๓. ความเป็นมาและความสำคัญ สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
ด้วยสภาพสังคมในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดคุณธรรมของเยาวชนในวัยเรียน มีความรุนแรงและถี่บ่อยขึ้นโดยมีแนวโน้มที่เกิดกับเยาวชนในวัยเรียนที่มีอายุน้อยลงมาเรื่อยๆ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาด้านการขาดคุณธรรมต่างๆเหล่านี้ปรากฏให้เห็นทางสื่อต่างๆอันเป็นแบบอย่างในด้านลบต่อเยาวชนเช่นปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น การยึดติดในวัตถุนิยมความฟุ่มเฟือย ความขาดคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและปัญหาการขาดทักษะความคิดเชิงระบบเหตุผลที่เป็นขั้นตอนทำให้เกิดเป็นแบบอย่างให้แก่เยาวชนวัยเรียนเกิดพฤติกรรมเลียนแบบเกิดการเสพติดในค่านิยมที่หลงผิดในทางพฤติกรรมเชิงลบ การศึกษาไม่ตอบโจทย์และไม่สะท้อนผลความสำเร็จ ในการผลิตคนดีมีคุณธรรมสู่สังคม
ข้าพเจ้าจึงมีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาผู้เรียนด้วยนวัตกรรมการบริหารมี่ส่งผลเชิงระบบคลอบคลุมหารพัฒนาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันการแก้ปัญหาสะท้อนวิธีคิดให้เกิดเป็น ( Best Pracetice ) ที่ใช้พัฒนาโรงเรียนวัดโสมนัส และโรงเรียนอื่นๆในสังกัด สพป. กรุงเทพมหานคร. ได้โดยกำหนดตัวแบบ หรือโมเดลการบริหารงานใน ชื่อ SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี ซึ่งเป็นนวัตกรรมด้านการบริหารงาน ที่มีการพัฒนาและปรับวิธีการให้สอดคล้องตามบริบทสถานศึกษาได้ โดยพัฒนามาจากSPIRIT SCHOOL โรงเรียนวร้างคนดี นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ในขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเนกขัมมาราม สังกัดสพป. ปทมธานี เขต ๑ (๒๕๖๓) จนประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับและได้รับรางวัล หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม เหรียญทองแดง ระดับภูมิภาค จากคุรุสภา ประจำปี ๒๕๖๔
และได้นำมาพัฒนาต่อยอดปรับบริบทตัวแบบดังกล่าวสร้างเป็นวัฒนธรรมการบริหารงานในโรงเรียน วัดโสมนัส สังกัด สพป. กรุงเทพมหานคร .ในชื่อ “SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี ขับเคลื่อนลงสู่การจัดการเรียนการสอน โดยน้อมนำพระบรมราโชบายในรัชกาลที่๙ และรัชกาลที่ ๑๐ ที่ทรงเน้นด้านความเป็นคนดีมีระเบียบวินัย การมีน้ำใจจิตอาสา ยึดประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการสร้างคนดีมีระเบียบวินัย การมีน้ำใจจิตอาสา ควบคู่กับการฝึกให้ผู้เรียนมีทักษาะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ที่เป็นขั้นตอน สามารถพัฒนาตนเอง ให้เกิดเป็น Best Practice ที่สร้างผู้รียนให้มีคุณลักษณะที่ดีสอดคล้องกับตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองต้นแบบที่ดีมีทักษะที่ตอบโจทย์บริบทสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพคนตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาชาติ และนโยบายจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

๔. วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงระบบด้วย SPIRIT (S) SOMMANAS ให้เป็น( Best Practice ) ให้เกิดประสิทธิผลส่งผลสู่ครูในการจัดการเรียนการสอนด้านคุณธรรม ความสุจริตลงสู่ตัวผู้เรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม
    (๒) เพื่อสร้างเป้าหมายในการพัฒนาการบริหารด้านจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการศึกษาชาติ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานโรงเรียนคุณธรรม
    (๓) เพื่อชับเคลื่อน SPIRIT (S) SOMMANAS ให้เป็น ( Best Practice ) ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเชิงระบบสร้างเสริมและสามารถใช้แก้ปัญหาการส่งเสริมผู้เรียนด้านคุณธรรม ความสุจริต
    (๔) เพื่อสร้างโรงเรียนต้นแบบด้วยนวัตกรรม SPIRIT (S) SOMMANAS ที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต ต้นแบบความร่วมมือ การร่วมเรียนรู้อย่างมืออาชีพ เพื่อพัฒนาผู้เรียน ครู ผู้บริหาร สถานศึกษา ชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

๕. กระบวนการพัฒนาผลงานหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม
กระบวนการพัฒนาเกิดจากแนวคิดในการต่อยอดการพัฒนาโรงเรียนวัดโสมนัสโดยการนำนวัตกรรมการบริหารงานสถานศึกษา “SPIRIT SCHOOL โรงเรียนสร้างคนดี” นวัตกรรมการบริหารงานในโรงเรียนวัดเนกขัมมาราม ที่ข้าพเจ้าได้ริเริ่มสร้างสรรค์ และพัฒนาขึ้น และเห็นความสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษาเชิงระบบและได้นำ “SPIRIT SCHOOL โรงเรียนสร้างคนดี” โดยได้รับการยินยอมเป็นลายลักษร์อักษรจากคณะครูผู้ร่วมพัฒนานวัตกรรม โรงรียนวัดเนกขัมมาราม ในการให้สามารถมาพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมได้เนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้ขึ้นมา จึงได้นำมาสร้างเสริมให้ตรงกับสถานศึกษาในบริบทใหม่ ในชื่อ SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี” ให้เป็น Best Practice โดยใช้กระบวนการ PDCA & PLC เป็นการขับเคลื่อนลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบไปด้วย
P การวางแผนiร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู นักเรียน ชุมชน สร้างค่าเป้าหมายในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริหารที่เป็นตัวแบบ คือ SPIRIT (S) SOMMANAS โสมนัสสร้างคนดี
D การขับเคลื่อนนำลงสู่การปฏิบัติโดย การออกแบบจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การจัดกิจกรรม การสร้างสรรค์ สื่อต่างๆสู่ผู้เรียนในรูปแบบต่างๆ ด้วยรูปแบบ PLC
C การนิเทศ ติดตามผลการดำเนินการ แนะนำ ผลการดำเนินการโดยมีการถอดบทเรียนติดตามเป็นระยะ
A การประเมินผลสำเร็จในการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ผ่านการรายงานผลกิจกรรมและผลสำเร็จด้วยวิธีการที่หลากหลาย    
การใช้กระบวนการ PLC
ใช้กระบวนการ PLC โดยสร้างกระบวนการกลุ่ม โดยสร้างการข้อตกลงในความต้องการร่วมกันเรียนรู้และพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอน หรือปัญหาต่างๆที่ส่งผลต่อพัฒนาการ โดยรวมของนักเรียนเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งขึ้น โดยสามารถเกิดการค้นพบองค์ความความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปพัฒนาการจัดการศึกษาได้ตรงตามเป้าหมาย โดยสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอน

๑)    สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
-    สภาพบริบทของโรงเรียนวัดโสมนัส
ขาดการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ

๒)    การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
๓ ) ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา มี ๖ กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 SMART Sommanas เด็กดีศรีโสมนัส
    ๑. เน้นการสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้มีสมรรถนะหลัก ๕ ประการ ได้แก่ การมีคุณธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักความพอเพียว และการมีจิตสาธารณะ จิตอาสา ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และ ยึดมั่นในจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และเป็นพลเมืองแบบอย่างที่ดีของสังคม
    ๒. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทแวดล้อม และนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ และจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน และชุมชน
    ๓. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจนเกิดทักษะ (Active Skill) เพิ่มและขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น พัฒนาทักษะกระบวนการคิด ทักษะชีวิต และทักษะทางอาชีพเพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อม สาหรับการวางแผนงานในอนาคต
    ๔. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนเพิ่มขีดความสามารถของตนเอง ด้วยทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตั้งเป้าหมายตามความถนัดตนเองสู่ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ที่ประเทศ และนานาชาติต้องการ

กลยุทธ์ที่ ๒ PLC Teach ส่งเสริมพัฒนา ยกระดับความสามารถครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑) สร้างทัศนคติที่ดี ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้มีคุณธรรมเพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้เรียนส่งเสริมปลูกฝังทัศนคติด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และการยึดมั่นในการเป็นข้าราชการที่ดี ให้มีความตระหนักในจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และเกียรติศักดิ์ทางวิชาชีพครู
๒) พัฒนากระบวนการการจัดการเรียนการสอน Active Learning แบบสร้างองค์ความรู้ร่วมกับผู้เรียน เป็นภาวะผู้นำทางวิชาการ สามารถพัฒนาออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผล การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
๓) ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาตนเองตามศักยภาพ ให้เป็นครูมืออาชีพ สามารถสร้างการยอมรับด้วยผลสำเร็จของงาน มีการทำงานเป็นทีมและมีจิตอาสา
    ๔) สนับสนุนให้มีการสร้างภาคีเครือข่าย แลกเปลี่ยนและขยายผลความรู้ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC ) อย่างเป็นระบบ มีศูนย์การจัดการความรู้เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ 3 Individual Focus มุ่งพัฒนาเน้นทักษะสมรรถนะผู้เรียนรายบุคคล
    ๑) สร้างจุดเน้น อัตลักษณ์ให้ผู้เรียนมีความคลอบคลุมเชื่อมโยง บูรณาการเข้ากับระบบการบริหารงานอย่าง รวดเร็วมีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
๒) สร้างค่านิยมที่มีเป้าหมายการมุ่งส่งเสริมการทำความดีให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบเชิงบวกโดยส่งเสริม ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาและด้านอื่นที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานครอบคลุม เป็นปัจจุบัน
    ๓) มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จิตอาสา ความพอเพียง รู้จักประมาณ และประเมินตนเอง
    4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้วยตนเอง เพื่อกระตุ้นความสามารถและสร้างเครือข่ายสหวิทยากรระหว่างผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี
กลยุทธ์ที่ ๔ Research To Share ส่งเสริมพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนสู่การเผยแพร่
     ๑) มีระบบการวิจัยในชั้นเรียนที่ คลอบคลุม ตรงตามบริบทของสถานศึกษา ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น มีการพัฒนาให้ยืดหยุ่นคล่องตัว มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายหมายและทิศทางของนโยบายต้นสังกัด
๒) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับภารกิจที่มีของสถานศึกษาเพื่อความคุ้มค่า และสร้างความพร้อมต่อการประเมินภายนอกให้ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
    ๓) ให้มีการใช้และพัฒนาระบบดิจิทัล จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ สำหรับการบริหารจัดการที่ครอบคลุมและคุ้มค่าสามารถเชื่อมโยงกับภารกิจด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพทั้งในและนอกสถานศึกษา
๔) พัฒนาระบบการบริหารบนหลักธรรมาภิบาล โดยถือประโยชน์ราชการเป็นสำคัญ และปฎิบัติราชการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆที่ถูกต้องเพื่อสร้างระบบการการบริหารงานที่มีมาตรฐาน
กลยุทธ์ที่ ๕ Implementation Skill ส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    ๑) เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบ ให้มีจิตสำนึกติดตัวด้านคุณธรรม สุจริต จิตอาสา ความพอเพียง
๒) พัฒนาผลิตผล ( Out Put )จากหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ด้วยศักยภาพของนักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณลักษณะที่สังคมต้องการในการมีคุณธรรมประจำตัว
    ๓) สร้างเสริมคุณลักษณะที่ดีแก่ผู้เรียนทุกคนให้เกิดให้มีความต่อเนื่องและถ่ายทอดเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ภาคภูมิใจประจำสถาบันการศึกษา
กลยุทธ์ที่ ๖ Team Cooparate พัฒนาความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมจัดการศึกษา
    ๑) สร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมให้นักเรียนและบุคลากรมีจิตอาสา เสริมความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยให้ชุมชนเป็นต้นแบบประสานภาคีเครือข่ายต่างๆเพื่อร่วมทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น สมาคมศิษย์เก่า สมาคมครูผู้ปกครอง ฯ
๒) เปิดโอกาสโดยชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการพัฒนาโรงเรียนเพื่อสร้างสังคมเครือข่ายการเสียสละ ความมีน้ำใจจิตอาสา
    ๓) สร้างเครือข่ายที่มีความเชื่อมโยงต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา และการสร้างทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน ให้มีความต่อเนื่องและถ่ายทอดเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ภาคภูมิใจประจำสถาบันการศึกษา

๔.ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
    (๑) ผู้เรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ศักยภาพสูง มีจิตอาสาภูมิใจในอัตลักษณ์ตนเอง และมีวิถีการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมีนวัตกรรม( Best Practice ) ที่มีคุณภาพสามารถพัฒนางานบริหารสถานศึกษาให้เป็น SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี ที่มีวัฒนธรรมการเสริมสร้างคุณลักษณะความสุจริตให้ แก่ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชนอย่างยั่งยืน
    (๒) โรงเรียนมีนวัตกรรม SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี เป็น Best Practice ที่สามารถพัฒนาการบริหารสถานศึกษาให้เกิดเป็น Best School ที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งในการเสริมสร้างคุณะรรมในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน
    (๓) ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีค่านิยม ( value) ในการเป็นข้าราชการที่ดี และตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีสมรรถนะตรงตามมาตรฐานวิชาชีพครู และมีหลักคิดต่อความซื่อสัตย์ร่วมกัน

๔.๑ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการใช้ SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี
    ๑) สร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยให้ชุมชนเป็นต้นแบบประสานภาคีเครือข่ายต่างๆเพื่อร่วมทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น สมาคมศิษย์เก่า สมาคมครูผู้ปกครอง ฯ
๒) พัฒนาผลิตผล ( Out Put ) ศักยภาพของนักเรียน และครูด้านคุณธรรม ซื่อสัตย์ ประหยัด พอเพียง จิตอาสา
๓) ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการเพื่อสร้างองค์ความรู้ และงานอาชีพที่เป็นผลผลิตผู้เรียนที่สร้างความภาคภูมิใจร่วมกัน และสามารถสร้างเครือข่ายที่มีความเชื่อมโยงต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา
๔) ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางความคิด มีความต่อเนื่องและถ่ายทอดเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ภาคภูมิใจประจำสถาบันการศึกษา

แนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์    ตัวชี้วัดความสำเร็จ    โครงการ/ กิจกรรม
๑. SMART SOMMANAS เด็กดีศรีโสมนัส ส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนด้านการมีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่สุจริตมี จิตอาสา และจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันหลัก พัฒนาต่อยอดให้สอดคล้องความต้องการบริบทของชุมชน มีสมรรถนะCoding มีทักษะภาษาอย่างน้อย 2 ภาษา ขับเคลื่อนระบบ มาตรฐานการเรียนรู้ที่เน้นการมีทักษะสู่การมีอาชีพ     ๑. ร้อยละ ๙๐ ของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ การประเมิน และมีพฤติกรรมเชิงบวก ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวินัยสูง
๒.มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและทักษะที่สามารถต่อยอดสู่อาชีพได้
๓. ผู้เรียนมีจิตสำนึกเคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตอาสาส่วนรวม รู้รับผิดชอบ
๔. ร้อยละ๘๐ ผู้เรียนมีความ สามารถในวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงความรู้บูรณาการ
มาใช้ในการพัฒนาตนเอง     ๑ .นักเรียนได้ทำโครงงานคุณธรรมสอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน. ๒.นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมเชิงบวกตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน๓. กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาไทย กิจกรรมออมวันละนิด     ๔. ส่งเสริมการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษให้เป็นเลิศ.เพิ่มผลสัมฤทธิ์พิชิต O-net / NT๕. กิจกรรมลูกเสือจิตอาสา ๖.เปิดโลกสมรรถนะ/ Open Hourse
๒. PLC Teach ส่งเสริมพัฒนา ยกระดับความสามารถครูและบุคลากรทางการศึกษา
สร้างทัศนคติที่ดี ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้มีคุณธรรมเพื่อเป็นต้นแบบให้ผู้เรียนส่งเสริมปลูกฝังทัศนคติด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม และการยึดมั่นในการเป็นข้าราชการที่ดี     ๑. ร้อยละ ๘๐ ครูมีการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด และตระหนักในจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
๒.ครูมีกระบวนการเรียนรู้ แบบ (PLC - Learning)
๓. มีนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลงานในระดับต่างๆ    ๑. โครงการพัฒนาการสอน (Active Learning)
๒. โครงการอบรม PA สู่การพัฒนา
๓. โครงการเพิ่มศักยภาพครูผู้สอน
๔. กิจกรรมเครือข่าย (PLC)
๕. PLC สู่ครูมืออาชีพ
๓. Individual Focus สร้างจุดด่น เน้น ให้ผู้เรียน สมรรถนะ และทักษะรายบุคคล สร้างเป้าหมายสู่การต่อยอดการเรียนรู้ระหว่าง นักเรียน , ครู , โรงเรียน , ชุมชน    ๑. ผู้เรียนมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนผ่านกิจกรรมเชิงบวกด้านการมีมารยาท คุณธรรม จิตอาสา ความพอเพียงในสื่งที่ตนมี
๒.ผู้เรียนมีคุณธรรมประจำตัว และสามารถแสดงออกผ่านทางพฤติกรรมเชิงบวก     ๑. กิจกรรมจิตอาสา
๒. กิจกรรม STEM – SMART
๓. กิจกรรมไหว้ครู
๔. กิจกรรมธรรม To School
๕. กิจกรรมคุณธรรมประจำศุกร์
๖. บันทึกความดี
๗. กิจกรรมเด็กดีศรีโสมนัส
๔ Research To Share ส่งเสริมพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนสู่การเผยแพร่
มีระบบการวิจัยในชั้นเรียนที่ คลอบคลุม ตรงตามบริบทของสถานศึกษา ตอบโจทย์ความ    ๑. มีผลงานวิจัยในชั้นเรียนที่ชัดเจนจากการ PLC
๒. ผลงานวิขัยสามารถใช้พัฒนาความสำเร็จเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพของสถานศึกษา    ๑. พัฒนาสงานวิจัยในชั้นเรียนสู่ความเป็นเลิศ
๒. ร่วมเผยแพร่งานวิจัยในและนอกโรงเรียน
๓. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในประจำปี
กลยุทธ์ที่ ๕ Implementation Skill ส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างเยาวชนต้นแบบ ให้มีจิตสำนึกติดตัวด้านคุณธรรม สุจริต จิตอาสา ความพอเพียง
    ๑. ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านการคิด อ่าน เขียน และสมรรถนะหลักที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
๒.ผู้เรียน.มีทักษะในการดำเนินขีวิตและมีคุณลักษณะที่ดีต่อการเป็นพลเมืองต้นแบบ    ๑. โครงการเด็กดีศรีโสมนัส
๒. กิจกรรมทักษะภาษาจีน
๓. โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนทางภาษา
๔ กิจกรรมสภานักเรียน
๕. .กิจกรรม SMART STEM
กลยุทธ์ที่ ๖ Team Cooparate พัฒนาความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมจัดการศึกษา สร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมให้นักเรียนและบุคลากรมีจิตอาสา เสริมความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยให้ชุมชนเป็    ๑. โรงเรียนมีเครือข่ายการเรียนรู้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานจิตอาสา
๒.มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งด้านการสนับสนุนจากชุมชนอย่างต่อเนื่อง    ๑. โครงการภาคีร่วมพัฒนาสถานศึกษา
๒. กิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์
๓. โครงการระดมทรัพยากรเพื่อผู้เรียนโดยชุมชน
๔.ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา



๕. สรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น
     การนำผลงานมาพัฒนาปรับปรุง ต่อยอดในบริบทใหม่ด้วยวิธีการร่วมแบ่งปัน การสร้างทีมงานคุณภาพ การเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมและกระบวนการสร้างผลงาน และการยกย่อง ชมเชยเมื่อมีผู้ปฏิบัติได้ดีเป็นแบบอย่าง มีการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน ตลอดจนการกำกับติดตามของบุคลากรในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามกระบวนการ PDCA

๖. ข้อเสนอแนะ
    โรงเรียนวัดโสมนัสมีต้นแบบ SPIRIT SOMMANAS (S) โสมนัสสร้างคนดี เป็น Best Practice สู่การเป็น Best School นวัตกรรมที่สามารถสร้างและปลูกจิตสำนึก วิถีความมีคุณธรรมประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน และบุคลากรให้มี ความสามัคคี ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และยึดมั่นในจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และเป็นพลเมืองที่มีจิตอาสา ดำรงชีวิตโดยรู้จักความพอเพียง เป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน สังคม

๗. จุดเด่น หรือลักษณะพิเศษของผลงานนวัตกรรมได้รับการยอมรับการเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
(๑) รางวัลดีเยี่ยม รองชนะเลิศอันดับ ๒ Best Practice ผู้บริหารโรงเรียนสุจริต
โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมา ภิบาลในสถานศึกษา ปี ๒๕๖๔ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒) รางวัลดีเยี่ยม รองชนะเลิศอันดับ ๑ Best Practice ครูโรงเรียนสุจริต
โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมา ภิบาลในสถานศึกษา ปี ๒๕๖๔ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร












ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^