การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถใน
แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางณพิชญา เลขยันต์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ (ซอย ๖) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลโคกตูม อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research & Development ) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อรูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค และสาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต ทฤษฎีคอนสตรัคติวิส์ต (Constructivist ) ทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิด ( Apperception หรือ Herbartianism ) และทฤษฎีแห่งการการสร้างความรู้ (Constructivism) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนกับครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาแหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ซอย ๖) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลโคกตูม จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ((Purposive selection)) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษา 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา ( content analysis ) สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ( t-test dependent )
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีเป้าหมายการของการศึกษาด้านสุขภาพเพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งสาระ ที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค และสาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันและมีความสำคัญกับการดูแลตนเองให้มีความสุขและปลอดภัย และจากความคิดเห็นของนักเรียนก็มีความต้องการให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ ในลักษณะกระบวนการกลุ่ม ส่วนในด้านการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการและการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ พบว่า มีความสอดคล้องกันคือมีความคิดเห็นว่าควรมีการการจัดการเรียนการสอนให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องปรับเปลี่ยนการสอนใหม่และกิจกรรมมีความน่าสนใจให้นักเรียนมีส่วนร่วมและควรเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ารูปแบบการเรียนการสอน ( EPLEA Model ) ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นเตรียมความพร้อม ( Encouragement : E ) ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอเนื้อหา (Presentation: P ) ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้กระบวนการคิด (Learning Thinking :L ) ขั้นตอนที่ 4 การลงข้อสรุป (Elaboration: E ) และขั้นตอนที่ 5 การประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process: A ) มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.85 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.17 และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 82.22/83.87
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า จากการนำรูปแบบการเรียนการสอน ( EPLEA Model ) ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 หลังการเรียนการสอนนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.25 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.88 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.04 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ( EPLEA Model ) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีการทดสอบที ( t-test dependent ) เท่ากับ 23.854 และ 30.753 ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ( EPLEA Model ) ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.88 และค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.15 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5