การประเมินโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ
สุขบัญญัติ 10 ประการ
ผู้ประเมิน : นายสุชาติ วรโพด ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา)
ปีการศึกษา : 2562-2563
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการของมาร์วิน ซี. อัลคิน (Marvin C. Alkin. 1972) มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินระบบของโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ 2) ประเมินการวางแผนของโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ 3) ประเมินการนำไปใช้หรือการดำเนินการของโครงการบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ 4) ประเมินการปรับปรุงของโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ 5) ประเมินการยอมรับของโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 304 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 143 คน ประกอบด้วย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 - 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 นักเรียนจำนวน 143 คน ประกอบด้วย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 - 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการโดยใช้แบบสอบถาม ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) ได้มาโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) มีจำนวนทั้งสิ้น 108 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 9 คน จากกลุ่มประชากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครู และผู้บริหารได้อยู่ในส่วนที่เป็นผู้ประเมิน ผู้ปกครองนักเรียนใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด. 2560 : 40) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน และนักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 56 คน เพราะนักเรียนทุกคนสามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคน ระยะเวลาปีการศึกษา 2562 - 2563 (วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 8 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลได้ ดังนี้
การประเมินระบบของการประเมินโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินเพื่อวางแผนโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินการนำไปใช้หรือการดำเนินการโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) โรงเรียนดี มีคุณภาพ : สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ 10 ประการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของครูผู้สอน ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านสุขบัญญัติ 10 ประการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก