การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
นายสยาม เครือผักปัง
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินงานโครงการ 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการ 3) ประเมินกระบวนการในการดำเนินงานโครงการ 4) ประเมินผลผลิตที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ เพื่อแสดงผลการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนสู่ ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ ตัดสินคุณค่าของโครงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์สู่ความเป็นเลิศ โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 75 คน และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการประเมิน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน
1. ด้านสภาพแวดล้อมสำหรับการดำเนินโครงการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50) โดยเฉพาะในเรื่อง ครูและนักเรียนให้ความตระหนักถึงการเรียนการสอนหุ่นยนต์พัฒนาทั้งทางร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ โรงเรียนมีการสร้างเครือข่าย ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนกิจกรรมหุ่นยนต์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านทักษะการคิดที่ดีมากขึ้น โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ด้านหุ่นยนต์ สอดคล้องกับนโยบายและแผนการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และโรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนหุ่นยนต์ และโรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมหุ่นยนต์อย่างหลากหลาย
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น สนับสนุนการดำเนินโครงการ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.52) โดยเฉพาะในเรื่อง โรงเรียนจัดให้มีคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนฯที่เรียนหุ่นยนต์ โรงเรียนจัดสรรบุคลากรและเวลาในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ โรงเรียนมีองค์กรและบุคคลให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์เพื่อการฝึกซ้อมและการแข่งขันหุ่นยนต์ โรงเรียนจัดให้มีการแสดงความยินดีและรางวัลสำหรับนักเรียนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ และ โรงเรียนจัดทำป้ายนิเทศ และการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์โดยเฉพาะ
3. ด้านกระบวนการ ในการดำเนินโครงการ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.52) โดยเฉพาะ ในเรื่อง ผู้บริหารโรงเรียนร่วมกันกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์และตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ โรงเรียนจัดแสดงกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้หุ่นยนต์ให้แก่นักเรียน ทุกระดับชั้น การจัดกิจกรรมชุมนุมหุ่นยนต์ที่เน้นการพัฒนาทักษะหุ่นยนต์ให้แก่นักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ ครูจัดสรรเวลาเรียนเพื่อให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหุ่นยนต์ตามโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียน สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ และโรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูที่สอนหุ่นยนต์ได้พัฒนาตนเอง โดยการให้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนหุ่นยนต์
4. ด้านผลผลิต จากการดำเนินโครงการ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.58) โดยเฉพาะในเรื่อง ผู้บริหารโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ โรงเรียนมีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้หุ่นยนต์ให้แก่นักเรียนทุกระดับชั้นอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันหุ่นยนต์ให้แก่นักเรียนทั่วไป จัดให้มีกิจกรรมชุมนุมหุ่นยนต์ที่เน้นการพัฒนาทักษะหุ่นยนต์ให้กับนักเรียนและนำเสนอกิจกรรมหุ่นยนต์ให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้เข้าชม โรงเรียนจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียนที่เรียนหุ่นยนต์ทุกระดับชั้นทั้งในรายวิชาที่สอนหุ่นยนต์ และการแข่งขันหุ่นยนต์เฉพาะ และนักเรียนที่เป็นตัวแทนแข่งขันหุ่นยนต์เข้าร่วมรายการแข่งขันหุ่นยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ