LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2-64 ครูรจนา แสงสุธา

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
เวลา 4 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ ......... เดือน ............................................ พ.ศ. 2564    

1. สาระการเรียนรู้
    สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 2.2 ม.4-6/4 สังเกตและอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ได้
ด้านทักษะกระบวนการ
2. ออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญ
            3. มีจิตสาธารณะและจิตวิทยาศาสตร์
4. มีความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

2. สาระสำคัญ
เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุนั้นจะออกแรงโต้ตอบในทิศทางตรงข้ามกับแรงที่มากระทำ ซึ่งแรงทั้งสองแรงนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอเราเรียกแรงที่มากระทำต่อวัตถุว่า แรงกิริยา (action force) และเรียกแรงที่วัตถุโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำว่า แรงปฏิกิริยา (reaction force) ซึ่งเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของ นิวตัน เรียกว่า กฎของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา (Law of action and reaction) มีใจความว่า “ทุกแรงกิริยา ยอมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้ามเสมอ”

3. เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
3.1 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
        3.2 การบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา STEM
        3.2.1 S (Science) : แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
3.2.2 T (Technology) : บูรณาการความรู้อื่นในการออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ ,การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
3.2.3 E (Engineering) : การสร้างจรวดขวดน้ำ
            3.2.4 M (Mathematics) : การวัดระยะทางที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของจรวดขวดน้ำ



4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
4.1 มีจิตสาธารณะ
4.2 มีจิตวิทยาศาสตร์

5. สมรรถนะสำคัญ
5.1 ความสามารถในการคิด
5.2 ความสามารถในการสื่อสาร
5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา
5.4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
5.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

6. ชิ้นงาน
    ออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ

7. กิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค : การบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษากับรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนแบบ 5Es (Inquiry Method) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน Application Zoom
ชั่วโมงที่ 1

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
         1. ครูพูดคุยและซักถาม ทบทวนความรู้เดิมในชั่วโมงที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องแรงและผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อ วัตถุโดยใช้คำถามต่อไปนี้
        – นักเรียนรู้จักนิวตัน หรือไม่อย่างไร
        – เราสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างไร
        – นักเรียนรู้จักคำว่าแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา มากน้อยเพียงใด
        2. ครูนำรูปภาพที่เกี่ยวกับการใช้แรงในลักษณะต่างๆ มาให้นักเรียนดูพร้อมกับนักเรียนร่วมกันแสดง ความคิดเห็นตามประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละคน
        3. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์การส่งดาวเทียมและจรวดออกสู่อวกาศ
        4. นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา
5. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3-4 คน ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาของจรวดและยานอวกาศ จากหนังสือเรียนอินเตอร์เน็ต
6. นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำลงในใบกิจกรรมที่ 1 ออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสร้างจรวดขวดน้ำ

ชั่วโมงที่ 2-3
7. นักเรียนทำกิจกรรมสร้างจรวดขวดน้ำตามรูปแบบที่วางแผนไว้ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำในการทำกิจกรรม
8. ทดลองยิงจรวดขวดน้ำและทำการปรับปรุงจรวดให้มีความแข็งแรงและสามารถนำไปแข่งขันในกลุ่มห้องเรียนได้
9. นักเรียนทำการแข่งขันยิงจรวดขวดน้ำ โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทยิงไกล และประเภทแม่นยำ โดยให้นักเรียนเป็นผู้บันทึกข้อมูลเอง
10. มอบรางวัลสำหรับผู้ชนะและชมเชยนักเรียนทุกคน

ชั่วโมงที่ 4
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
         11. ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอจากการทำกิจกรรม และตอบคำถาม
            12. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงผลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม และให้นักเรียนช่วยกันสรุปผล การจากปฏิบัติกิจกรรม
         
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้
            13. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาในใบความรู้ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
            14. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล
            15. ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
            16. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและ การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์

8. การวัดและการประเมินผล
วิธีการ    เครื่องมือ    เกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ได้    
ใบงาน เรื่อง แรงกิริยาและ แรงปฏิกิริยา     - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ด้านทักษะกระบวนการ
1. ออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ    แบบประเมินผลงาน
    - ระดับ 2 ขึ้นไป
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญ
3. มีจิตสาธารณะและจิตวิทยาศาสตร์
4. มีความสามารถในการคิด
5. ความสามารถในการสื่อสาร
6. ความสามารถในการแก้ปัญหา
7. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
8. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต    - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- แบบประเมินสมรรถนะสำคัญ
    - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

9. สื่อการเรียนรู้
1. รูปภาพที่เกี่ยวกับการใช้แรงในลักษณะต่างๆ
2. วีดิทัศน์การส่งดาวเทียมและจรวดออกสู่อวกาศ
3. ใบกิจกรรมที่ 1 ออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ
            4. ใบความรู้ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
5. ใบกิจกรรมที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
6. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
7. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
8. แบบประเมินสมรรถนะสำคัญ

10. ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………

                        ลงชื่อ..........................................หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
                     (นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)


11. ความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษา ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………

                        ลงชื่อ..........................................รองผู้อำนวยการโรงเรียน
                     (นางนวลนิตย์ ถาวงษ์กลาง)


















12. ถอดบทเรียน (เศรษฐกิจพอเพียง)
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………









บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
    ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
    แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
        
                            ลงชื่อ..................................................ครูผู้สอน
                         (……………………………………….)


ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………

ลงชื่อ..........................................ผู้อำนวยการโรงเรียน
                     (นายสยาม เครือผักปัง)
                 ................/......................................./..................

รูปภาพที่เกี่ยวกับการใช้แรงในลักษณะต่างๆ



















รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)    ใบกิจกรรมที่ 1
ออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รหัสวิชา ว33103        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

คำถาม ถ้านักเรียนจะสร้างจรวดขวดน้ำเพื่อทำการแข่งขันในชั้นเรียน นักเรียนจะออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ
อย่างไร






















รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)    ใบกิจกรรมที่ 2
แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รหัสวิชา ว33103        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1







1. นักเรียนทราบว่าโลกออกแรงกระทำต่อเรา นักเรียนคิดว่าตัวเราออกแรงกระทำต่อโลกหรือไม่ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………..…………
2. แรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยา มีลักษณะสำคัญอะไรบ้าง ให้ระบุมาอย่างน้อย 3 ข้อ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…….……………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….……
3. ให้ระบุคู่แรงกิริยา-ปฏิกิริยา พร้อมเขียนลูกศรแสดงทิศทางของแรงทั้งสอง จากสถานการณ์ต่อไปนี้
3.1 คนใช้มือกำลังผลักรถให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้า

                แรงกิริยาคือ……………………………………………………………………………............
                แรงปฏิกิริยาคือ………………………………………………………………………….………
3.2 การใช้ค้อนตอกตะปู
แรงกิริยาคือ……………………………………………………………………………...........
แรงปฏิกิริยาคือ…………………………………………………………………………………
3.3 โคมไฟที่วางอยู่บนโต๊ะ
             แรงกิริยาคือ……………………………………………………………………………...........
                แรงปฏิกิริยาคือ…………………………………………………………………………….……


คิด วิเคราะห์ และระบุชนิดของแรงว่าเป็นแรงปฏิกิริยาหรือแรงกิริยา

1. การตีลูกเทนนิส ลูกเทนนิสเคลื่อนที่ไปได้ไกล 10 เมตร
.................................................................................................................................................................................
2. ตบลูกบาสเกตบอลลงบนพื้น ลูกบาสเกตบอลกระดอนขึ้นมา
.................................................................................................................................................................................
3. วางก้อนหินหนัก 2 นิวตันบนโต๊ะ
.................................................................................................................................................................................
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)    ใบความรู้
แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รหัสวิชา ว33103        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ความหมายของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
แรงกิริยา คือ แรงที่เกิดจากการกระทำโดยสิ่งใดๆ เช่น การออกแรงกดโต๊ะ การออกแรง เตะลูกฟุตบอล น้ำหนักของวัตถุก็เป็นแรงกิริยาแบบหนึ่งที่โลกออกแรงดึงดูดวัตถุให้เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
แรงปฏิกิริยา คือ แรงอันเนื่องมาจากแรงกริยาโดยมีทิศทางตรงกันข้าม และขนาดเท่ากับแรงกริยาเสมอ เช่น รถชนสุนัข แรงกริยา คือ แรงที่รถกระทำกับสุนัข และ แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่สุนัขกระทำกับรถ
เมื่อเราออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริง เราจะรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงก็ดึงมือเราด้วยและยิ่งเรา ออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริงด้วยแรงมากขึ้นเท่าใดเราก็จะรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงยิ่งดึงมือเราไปมากขึ้นเท่านั้น





ภาพที่ 1 การออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริง
จากตัวอย่างจะพบว่า เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นก็จะออกแรงโต้ตอบ ในทิศทางตรงข้ามกับแรงที่มากระทำ ซึ่งแรงทั้งสองแรงนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ เราเรียกแรงที่ มากระทำต่อวัตถุว่า "แรงกิริยา" (action force) และเรียกแรงที่วัตถุโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำว่า "แรงปฏิกิริยา" (reaction force) แรงทั้งสองนี้จึงเรียกรวมกันว่า "แรงกิริยา-แรงปฏิกิริยา" (action-reaction) จึงสรุปความสัมพันธ์ระหว่างแรงกิริยากับแรงปฏิกิริยาได้เป็นกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ได้ว่า
"แรงกิริยาทุกแรงต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงข้ามกันเสมอ" หรือ action = reaction หมายความว่า เมื่อมีแรงกิริยากระทำต่อวัตถุใดก็จะมีแรงปฏิกิริยาจากวัตถุนั้นโดยมีขนาดแรงเท่ากันแต่กระทำกับวัตถุคนละก้อนเสมอ จึงนำแรงกิริยามาหักล้างกับ แรงปฏิกิริยาไม่ได้ เช่น กรณีรถชนสุนัข แรงกิริยา คือ แรงที่รถชนสุนัข จึงทำให้สุนัขกระเด็นไป ในขณะเดียวกันจะมีแรงปฏิกิริยา ซึ่งเป็นแรงที่สุนัขชนรถ จึงทำให้รถบุบ จะเห็นว่าเสียหายทั้ง 2 ฝ่าย แสดงว่าแรงไม่หักล้างกัน



ภาพที่ 2 แรงกิริยา คือ แรงที่รถชนสุนัข แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่สุนัขชนรถ
ข้อควรจำ ลักษณะสำคัญของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
1. จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันเสมอ
2. มีขนาดเท่ากัน
3. มีทิศทางตรงข้ามกัน
4. กระทำต่อวัตถุคนละก้อน

การเคลื่อนที่ของวัตถุเกิดได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยา หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของวัตถุ และวัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงกระทำต่อวัตถุโดยตรงหรือวัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับทิศของแรงกระทำต่อวัตถุ เช่น การเคลื่อนที่ของลูกธนู การขว้างก้อนหิน ลูกกระสุน เป็นต้น



ภาพที่ 3 การเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยาแรงปฏิกิริยา
2. การเคลื่อนที่ด้วยแรงปฏิกิริยา หมายถึง แรงที่วัตถุกระทำตอบโต้แรงกิริยาในทิศทางตรงข้ามเป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะที่แรงขับดันไปข้างหลัง แล้วมีแรงปฏิกิริยาดันวัตถุให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เช่น การเคลื่อนที่ของจรวด บั้งไฟ เครื่องบินไอพ่น เรือหางยาว เป็นต้น























แบบบันทึกผลการออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

ที่    ชื่อ-สกุล    รายการประเมิน    รวม จำนวน รายการ ที่ผ่าน
เกณฑ์    สรุป
        วางแผนกำหนดขั้นตอนการทำงาน
    จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
    สังเกต ศึกษา ทดลอง รวบรวมข้อมูล
    การปรับปรุงชิ้นงาน
                ผ่าน    ไม่ผ่าน
1    นายขวัญชัย คะสุวรรณ                                     
2    นายพงศธร รัตนจันทอง                                     
3    นางสาวกชกร แสงอาทิตย์                                     
4    นางสาวนันทวัน ส่งพิมาย                                     
5    นางสาววชิราภรณ์ สาบุดดี                                     
6    นายผดุงศักดิ์ วิไลพิศ                                     
7    นางสาวกัญญาพร สิงห์งาม                                     
8    นางสาวรุ้งนภา รักษาบุญ                                     
9    นางสาวสุชาดา สายสังข์                                     
10    นางสาววันณิดา ไชยวงค์                                     
11    นางสาวเพ็ญพิชชา ระหา                                    



                         ผู้ประเมิน .................................
(นางรจนา แสงสุธา)
                                     ……..……/………………/…………








แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

ที่    ชื่อ-สกุล    รายการประเมิน    คะแนนรวม    สรุป
        1. มีจิตสาธารณะ    2. มีจิตวิทยาศาสตร์        
        1.1    1.2    1.3    2.1    2.2    2.3    2.4    2.5    2.6        ผ่าน    ไม่ผ่าน
1    นายขวัญชัย คะสุวรรณ                                                 
2    นายพงศธร รัตนจันทอง                                                 
3    นางสาวกชกร แสงอาทิตย์                                                 
4    นางสาวนันทวัน ส่งพิมาย                                                 
5    นางสาววชิราภรณ์ สาบุดดี                                                 
6    นายผดุงศักดิ์ วิไลพิศ                                                 
7    นางสาวกัญญาพร สิงห์งาม                                                 
8    นางสาวรุ้งนภา รักษาบุญ                                                 
9    นางสาวสุชาดา สายสังข์                                                 
10    นางสาววันณิดา ไชยวงค์                                                 
11    นางสาวเพ็ญพิชชา ระหา                                                


                         ผู้ประเมิน .................................
(นางรจนา แสงสุธา)
                                     ……..……/………………/…………













เกณฑ์การประเมิน

คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์    รายการประเมิน    ระดับคะแนน
        3    2    1    0
1. มีจิตสาธารณะ    1.1 รู้จักการให้เพื่อส่วนรวม และเพื่อผู้อื่น                
    1.2 แสดงออกถึงการมีน้ำใจหรือการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น                
    1.3 เข้าช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลหรือแนวทางการกิจกรรม                
สรุป                
2. มีจิตวิทยาศาสตร์    1.1 ความสนใจการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์                
    1.2 พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์                
    1.3 ศรัทธาและเห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                
    1.4 ตั้งใจหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน                
    1.5 เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและปฏิบัติ                
    1.6 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมโดยใคร่ครวญไตร่ตรองถึงผลดีและผลเสีย                
สรุป                



เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
    ช่วงคะแนน    ระดับคุณภาพ
        22-27    ดีเยี่ยม
        16-21    ดี
        10-15    ผ่าน
        ต่ำกว่า 10    ไม่ผ่าน


ระดับคุณภาพ    ดีเยี่ยม    ดี    ผ่าน    ไม่ผ่าน
คะแนน    3    2    1    0

    เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพดี (2) ขึ้นไป
    สรุป         ผ่าน         ไม่ผ่าน










คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แล้วทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับระดับคุณภาพ

สมรรถนะด้าน    รายการประเมิน    ระดับคุณภาพ
        ดีมาก
(3)    ดี
(2)    พอใช้
(1)    ปรับปรุง
(0)    สรุปผลการประเมิน
1. ความสามารถในการสื่อสาร    1.1 มีความสามารถในการรับ-ส่งสาร                     ดีมาก
 ดี
 พอใช้
 ปรับปรุง
    1.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเองโดยใช้ภาษาอย่างเหมาะสม                    
    1.3 ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ                    
    1.4 เจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้                    
    1.5 เลือกรับและไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยเหตุผลและถูกต้อง                    
2. ความสามารถในการคิด    2.1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์                     ดีมาก
 ดี
 พอใช้
 ปรับปรุง
    2.2 มีทักษะในการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์                    
    2.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ                    
    2.4 มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้                    
    2.5 ตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับตนเองได้อย่างเหมาะสม                    
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต    3.1 ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดี                    
    3.2 มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสม                    
สรุป                    

            
เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก     หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัตินั้นชัดเจนและสม่ำเสมอ    ให้ระดับ 3 คะแนน
ดี     หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัตินั้นชัดเจนและบ่อยครั้ง     ให้ระดับ 2 คะแนน
พอใช้     หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง         ให้ระดับ 1 คะแนน
ต้องปรับปรุง     หมายถึง ไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรมนั้นเลย     ให้ระดับ 0 คะแนน



แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
เวลา 4 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564






โดย
นางรจนา แสงสุธา
ตำแหน่ง ครู












กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^