เผยแพร่บทความวิจัย
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางเกษราวรรณ สิงห์เงา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านรามราช ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในด้านพัฒนาการด้านสติปัญญาก่อนและหลังการจัดประสบการณ์
ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และคุณภาพชิ้นงานหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ที่ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนอนุบาลชายและหญิง จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาล 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านรามราช ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา จำนวน 18 แผน แบบวัดพัฒนาการ
ด้านสติปัญญา แบบประเมินชิ้นงาน และแบบวัดการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ด้านพัฒนาการด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเรียนรู้ด้านคุณภาพชิ้นงานของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
2) ผลการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05