เผยแพร่บทคัดย่องานวิจัย
โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางเกษราวรรณ สิงห์เงา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านรามราช ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม การเล่นกลางแจ้ง เพื่อค่าดัชนีประสิทธิผลของการส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดระเบียบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านรามราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 26 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 ชุด แผนการจัดการประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 24 แผน และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 ชุด
มีองค์ประกอบด้านจุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหา สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย
2. ชุดกิจกรรมกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความเหมาะสม
ในด้านองค์ประกอบต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.15/80.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6385 หมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 63.85
4. ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จากการประเมินของครูผู้สอนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 7 คน พบว่ามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.14 หมายถึง มีความเหมาะสมรูปแบบ การจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐาน
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การเล่นกลางแจ้ง, กล้ามเนื้อมัดเล็ก,ทฤษฎีสมองเป็นฐาน