เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ผู้ศึกษา นางธนัฏฐา วุฒิวณิชย์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วยบุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 38 คน และผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 143 คน รวมทั้งสิ้น 183 คน ขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 33 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 41 คน ขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 38 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 41 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 240 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ คู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test Dependent Sample และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับปานกลาง มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ระดับปานกลาง และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลระดับมาก ส่วนผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับน้อยที่สุด มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระดับน้อย มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ระดับปานกลาง และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลระดับปานกลาง ส่วนระดับความต้องการมีส่วนร่วม พบว่า บุคลากรต้องการมีส่วนร่วมในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน ส่วนผู้ปกครองและชุมชนต้องการมีส่วนร่วมโดยรวมในระดับมาก โดยจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับมากที่สุด มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระดับมาก การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ระดับมาก และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลระดับมาก
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า ได้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไก 4) วิธีดำเนินการ 5) แนวทางการประเมิน 6) เงื่อนไข โดยวิธีดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการรับรู้ผลประโยชน์ และขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมระดับมาก มีความเป็นไปได้ระดับมากและมีความเป็นประโยชน์ระดับมากที่สุด
3. การศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
3.1 การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยรวมในระดับมากที่สุด ( = 4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับมาก ( = 4.31) มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระดับมากที่สุด ( = 4.61) มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ระดับมากที่สุด ( = 4.64) และมีส่วนร่วมในการประเมินผลระดับมากที่สุด ( = 4.66) ส่วนผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโดยรวมในระดับมาก ( = 3.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับมาก ( = 3.51) มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระดับมาก ( = 4.18) มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ระดับมาก ( = 3.89) และมีส่วนร่วมในการประเมินผลระดับปานกลาง ( = 3.21)
3.2 การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ส่งผลให้ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้เชิงลึก ( = 4.55) และด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญของผู้เรียน ( = 4.52) และครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ การวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง ( = 4.45) การจัดการเรียนรู้ที่ยกระดับความสามารถด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ( = 4.39) การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นองค์รวม ( = 4.19) ตามลำดับ
3.3 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาล วัดท่าสะต๋อย มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ก่อนการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 77.07 และ หลังดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 80.35 และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังดำเนินงานสูงกว่าก่อนดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 พบว่า บุคลากร ผู้ปกครองและชุมชนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้วิจัยได้ประชุมร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ได้ปรับปรุงรายละเอียดของการดำเนินงานทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ได้ปรับปรุงโดยเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศสนับสนุนการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนและผู้เรียนแล้วนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้เน้นบูรณาการและส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้ปรับปรุงรูปแบบโดยเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพด้วยการใช้ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บุคลากร ผู้ปกครองและชุมชนสามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วและใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการรับรู้ผลประโยชน์ ได้ปรับปรุงรูปแบบโดยเพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลงานของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ให้ผู้ปกครองได้รับทราบอย่างทั่วถึง และขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ได้ปรับปรุงรูปแบบโดยนำคู่มือการประเมินผลการเรียนรู้และเครื่องมือประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 เผยแพร่ในระบบเครือข่ายเพื่อให้บุคลากร หรือผู้ปกครองและชุมชนสามารถนำเครื่องมือไปใช้ได้สะดวก
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม, ทักษะในศตวรรษที่ 21