LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

เผยแพร่บทคัดย่อการพัฒนากลยุทธ์การประกัน

usericon

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมี
ส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม วิธีดำเนินการวิจัย คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานกรรมการสถานศึกษา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครู จำนวน 7 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 2) พัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) 3) ประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อผลการดำเนินงานการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และ 4) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์ แบบบันทึก แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อผลการดำเนินงานการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ไม่มีผลการประเมินความสำเร็จตามเป้าหมายของการดำเนินงาน ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูล เครื่องมือสำหรับการประเมินความสำเร็จ ทั้งด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร รายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย กิจกรรมโครงการไม่แสดงถึงการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของงาน ไม่มีผลสรุปความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งในระดับโครงการและระดับแผนพัฒนา
    2. กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยม
ดงยาง จังหวัดมหาสารคาม มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ
3) การประชุมชี้แจงและมอบหมายงาน 4) การศึกษาดูงาน 5) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ทั้งนี้ได้ใช้ขั้นตอนพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ด้านการใช้กิจกรรมดำเนินงาน
2) ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพ 3) ด้านการนำแผนการประกันคุณไปใช้ 4 ) การตรวจสอบและทบทวน 5) การพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อผลการดำเนินงาน
การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้ขั้นตอนระบบการประกันคุณภาพภายในทั้ง 5 ขั้นตอน 5 กลยุทธ์ ระดับความคิดเห็นของครูและบุคลากรจากการตอบแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม ก่อนการพัฒนา เฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง หลังจากได้พัฒนาตามขั้นตอน และกลยุทธ์ ระดับความคิดเห็นหลังการพัฒนา เฉลี่ย 3.91 อยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า การพัฒนากลยุทธ์การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนมัธยมดงยาง จังหวัดมหาสารคาม มีค่าเพิ่มมากขึ้น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^