การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ประกอ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พบว่า ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 83.71 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 83.58 หรือค่า E1/E2 เท่ากับ 83.71/83.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลการสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ต้นแก้วผดุงพิทยาลัย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนนับ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจในแต่ละด้านสรุปได้ตามลำดับดังนี้ อันดับที่ 1 ความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.23) อันดับที่ 2 ความพึงพอใจด้านสื่อ/แหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.27) และอันดับที่ 3 ความพึงพอใจด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.47) ตามลำดับ