รูปแบบการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา
ชื่อ – นามสกุล นายณัฐธนิน แก้วมณี นางพิสมัย สิงห์สุนีย์ นายปริญญา ภูหวล และนายสังวาลย์ เรียนเจริญ
ปีการศึกษา 2563
สถานศึกษา โรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
บทคัดย่อ
การวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา
2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา และเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา ของนักเรียนโรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 43 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ เดือนกรกฎาคม 2563 – พฤศจิกายน 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า
การศึกษารูปแบบการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา ของนักเรียนโรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 43 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา ของนักเรียนโรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 คะแนนจากแบบฝึกทักษะการอ่านค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 5.07 และมีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8.10 ดังนั้น คะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.03 และรูปแบบการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา ของนักเรียนโรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 คะแนนจากแบบฝึกทักษะการเขียนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 4.82 และมีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7.30 คะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 2.48 เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบระหว่างคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและคะแนนค่าเฉลี่ยหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้จากการพัฒนาการอ่านและการเขียนโดยใช้การสอนแบบจุ้มหัว 2 ภาษา ของนักเรียนโรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 เพิ่มสูงขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะที่หลากหลายมีความก้าวหน้าที่สูงขึ้น
คำสำคัญ : การอ่านและการเขียน, ภาษาไทย, แบบฝึกหัด