เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ผู้ศึกษา นายสาคร เทียมดาว ครู โรงเรียนประทาย
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพศวิถีกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศ โดยการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพศวิถีกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศ โดยการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพศวิถีกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศ โดยการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาสุขศึกษา แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพศวิถีกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศ โดยการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับร้อยละ 84.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80 และจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความสามารถระดับดีนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาสุขศึกษาหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพศวิถีกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศ โดยการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับร้อยละ 81.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80 และหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพศวิถีกับความหลากหลายและพฤติกรรมทางเพศ โดยการสอนแบบเน้นกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05