LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียน
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย    นายปัณณธร เล่งเจริญ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2.) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษา อังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 3.) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษหลังและก่อนการทดลองใช้รูปแบบการสอน 4.) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนภาษาอังกฤษหลังการทดลองใช้รูปแบบการสอนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 5.) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 501 ภาคเรียนที่ 1/2563 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชา อ32202 ภาษาอังกฤษอ่าน เขียน 2.) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 3.) รูปแบบการสอน APIREE Model 4.) แผนการจัดการเรียนรู้ 5.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน และแบบประเมินทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ 6.) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบ Dependent Sample และ One Sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยได้ประยุกต์ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาตามรูปแบบของมาเรียม นิลพันธุ์ (2554: 31) และ ADDIE Model ของ Kruse (2008: 1) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ 1.) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Research-R1: Analysis) 2.) การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน (Development-D1: Design and Development) 3.) การทดลองใช้รูปแบบการสอน (Research-R2: Implementation) และ 4.) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอน (Development-D2: Evaluation)
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า APIREE Model โดยรูปแบบการสอนมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาและทักษะ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมของรูปแบบการสอน APIREE Model มี 6 ขั้นตอนดังนี้ 1.) ขั้นการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ (Analysis of Problems and Needs) 2.) ขั้นการวางแผน (Plan of the Project Work) 3.) ขั้นการดำเนินงาน (Implementation of the Project Work) 4.) ขั้นการทบทวนและตรวจสอบ (Review and Monitoring of the Project Work) 5.) ขั้นการนำเสนอผลงาน (Exhibition of the Project Work) และ 6.) ขั้นการประเมินและเผยแพร่โครงงาน (Evaluation and Project Publication) ผลการประเมินและการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( X=4.74, S.D.=0.44) และผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านมีความคิดเห็นต่อแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( X=4.68, S.D.=0.47) เช่นกัน
        2. การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับกลุ่มสนาม (Field Tryout) เมื่อนำผลการทดลองมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้ผลการประเมินด้านกระบวนการ เท่ากับ 80.39 และผลการประเมินผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.18 สรุปค่า E1/E2 = 80.39/81.18
        3. การทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนี้มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี นักเรียนมีการช่วยเหลือกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน นำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นที่น่าพอใจ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษหลังการใช้รูปแบบการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนภาษาอังกฤษสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52, S.D.= 0.69) และผู้วิจัยมีการปรับปรุงรูปแบบการสอนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับการนำไปใช้และเผยแพร่ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^