รายงานผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรีย
ที่มีผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง
ฉะเชิงเทรา
ผู้วิจัย : นายวนุพล คงบุญ
ปีที่วิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และ
นักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา 2) เพื่อ
เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการบริหาร งาน
วิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยจำแนกตามเพศ วุฒิทางการศึกษา ตำแหน่ง
และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จ านวน 3 คน ครู
จำนวน 24 คน นักเรียน นักศึกษา จำนวน 184 คน และผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา จำนวน
184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูที่มีต่อการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มี
ต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา และแบบสอบถามความ
คิดเห็นของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง
ฉะเชิงเทรา จำนวน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการพัฒนากระบวนการ
เรียนรู้ด้านการวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการประกันคุณภาพภายในและ
มาตรฐานการศึกษาด้านการพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้านการ พัฒนาและส่งเสริม
ให้มีแหล่งการเรียนรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการส่งเสริม ชุมชนให้มีความ
เข้มแข็งทางวิชาการ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง
ฉะเชิงเทรา ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่ามีด้านที่มีคะแนน
เฉลี่ยสูงสุดสามลำดับ ลำดับแรกได้แก่ ด้านการวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และด้านการ
พัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาคือ ด้านการประกัน
คุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีคะแนน
เฉลี่ยเท่ากัน และอันดับที่สามคือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
1.1 ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง
ฉะเชิงเทรา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากคือ
ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านการวัดประเมินผลและ
เทียบโอนผลการเรียน ด้านการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้
สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้ด้านการวิจัยเพื่อ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ตามลำดับ
1.2 ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัย
สารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุก
ด้าน โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดรายด้านสามลำดับ ลำดับแรกได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
รองลงมาได้แก่ ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และด้านที่สามได้แก่ ด้านการ
พัฒนากระบวนการเรียนรู้
1.3 ความคิดเห็นของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ เมื่อแยกเป็น
รายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดรายด้านสามลำดับ ลำดับแรกได้แก่
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้รองลงมาได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่
สามได้แก่ ด้านการวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารและครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง พบว่าผู้บริหารและครูมีตำแหน่งที่
แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ครูที่มีเพศแตกต่างกัน
โดยภาพรวมมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการไม่มีแตกต่างกัน
2.2 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าครูที่มีวุฒิการศึกษา
แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทาง
สถิติ
2.3 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าครูที่มี
ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัย
สารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ
2.4 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้
บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าผู้ปกครองที่มีเพศต่างกัน
มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมไม่
มีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2.5 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่าผู้ปกครอง ที่มีอายุ
ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดย
ภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.6 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา รวมทั้ง 8 ด้าน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า
ผู้ปกครอง ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัย
สารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน
2.7 ส่วนผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองและนักเรียน นักศึกษา ที่มีต่อ
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน พบว่าผู้ปกครองและ
นักเรียน นักศึกษา มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน
2.8 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อแยกตามเพศ พบว่านักเรียน
นักศึกษา ที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง
ฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน
2.9 การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ทั้ง 8 ด้าน เมื่อแยกตามระดับการศึกษา
พบว่านักเรียน นักศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน
ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นของครูไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้งสามข้อ ทั้งนี้อาจ
เนื่องมาจากครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา เป็นผู้มีวุฒิการศึกษา และมี
ประสบการณ์ในการทำงานที่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีความต้องการ ความรู้สึกและความคิดเห็นที่
เหมือนกัน ผลจึงไม่แตกต่างกัน