การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL
ผู้รายงาน : นายยาการียา อาแว ผู้อำนวยการโรงเรียนสะนอพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียน สะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562 – 2563 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562–2563 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562–2563 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนสะนอพิทยาคม ก่อนและหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562–2563 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562–2563 ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี การศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนเมษายน 2563 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มประชากรครูโรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน 2) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 240 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 240 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และ 5) กลุ่มตัวอย่างองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนความเป็นคนดีตามสภาพจริงโดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคลรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562 – 2563 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.98 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาความเป็นคนดีโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.96 ฉบับที่ 3 แบบสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกตนักเรียนตามสภาพจริงทุกคน และฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนต่อการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.97 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปี การศึกษา 2562 ช่วงเดือน มีนาคม 2560 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 ช่วงเดือนมีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562–2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (=4.13, = 0.69) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( =4.11, S.D.= 0.77) กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( =4.11, S.D.= 0.67) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( =4.05, S.D.= 0.76) สอดคล้องกับสมมุติฐาน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.64, = 0.60) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= 0.66) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( =4.51, S.D.= 0.56) สอดคล้องกับสมมุติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม ปีการศึกษา 2562–2563 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (=4.16, = 0.68) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.04, S.D.= 0.70) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.74, S.D.= 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (= 4.70, = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.54, S.D.= 0.67) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องกับสมมุติฐาน
3. สรุปผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 พฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์ สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.41
ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์ สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.99 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนองค์กรชุมชนในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ SANOR MODEL โรงเรียนสะนอพิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากและเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( =4.25, S.D.= 0.51) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (=4.22, = 0.61) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.02, S.D.= 0.72) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72, S.D.= 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.69, S.D.= 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.60, S.D.= 0.59) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน