รายงานผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส
ชื่อผู้นำเสนอ นางสาวฮาปือเสาะ หะยีมะนุส
กลุ่มสาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย
ปีการศึกษา2563
รายงานผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเยาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 มีวัตถุประสงค์ของการทดลอง ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึกตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก ประชากร ได้แก่ นักเรียนชาย-หญิง ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1-3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเยาะ จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 25 แผน (2)คู่มือการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนบ้านเยาะ จำนวน 25 กิจกรรม (3) แบบประเมินวัดทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนบ้านเยาะ จำนวน 45 ข้อ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Arithimetic:Mean: ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
สรุปผลการทดลอง พบว่า
1. แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 90.73/92.64
2. ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลงที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อประกอบเพลงควบคู่กระบวนการฝึก อยู่ในระดับมาก