LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS

usericon

ชื่องานวิจัย รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริง
โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบัวใหญ่
ผู้วิจัย นางธันยนันท์ จันทรแสน
หน่วยงาน โรงเรียนบัวใหญ่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา พ.ศ. 2563

บทคัดย่อ

    รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบัวใหญ่ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในประเด็น (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ (2) เปรียบเทียบความสามารถด้านสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านอภิปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) และ (4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 โรงเรียนบัวใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 36 ชั่วโมง จำนวน 1 ชุด แบบทดสอบวัดความรู้รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) จำนวน 1 ฉบับแบบวัดความสามารถด้านสารสนเทศ จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัดความสามารถด้านอภิปัญญา จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ แบบ t – test (One group pretest – posttest design) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
     1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) มีองค์ประกอบสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล ทั้งนี้กระบวนการเรียนการสอน ประกอบ ด้วยขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 (Step 1) แจ้งจุดประสงค์ เพื่อตั้งเป้าหมาย วางแผนการเรียนรู้และควบคุมการเรียน เป็นขั้นตอนการให้นักเรียนได้รับรู้จุดมุ่งหมายของการเรียน สร้างแรงจูงใจ เพื่อตั้งเป้าหมาย วางแผนการเรียนรู้และควบคุมการเรียนของตนเอง ขั้นที่ 2 (Step 2) ทบทวนความรู้เดิม เป็นขั้นตอนการให้นักเรียนได้ย้อนระลึกถึงสิ่งที่เคยได้เรียนมาและความรู้เดิมของตนเอง เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้เร็วยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 3 (Step 3) กระตุ้นด้วยปัญหา ให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา เป็นขั้นตอนการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความขัดแย้งทางปัญญา เกิดสภาวะไม่สมดุลโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่แล้วพยายามปรับสภาวะให้สมดุล แสวงหาเหตุผลของข้อขัดแย้งหรือสิ่งที่ไม่ตรงกับความรู้เดิม ขั้นที่ 4 (Step 4) สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและปรับโครงสร้างทางปัญญา เป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ แล้วจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นระบบ โดยจัดกิจกรรมที่ต้องผ่านกระบวนการคิด การวางแผน กำกับ ตรวจสอบเพื่อค้นหาคำตอบ รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขยายทัศนะของตนเอง โดยจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยใช้กิจกรรมหรือการโต้ตอบทางสังคมออนไลน์ ขั้นที่ 5 (Step 5) ประเมินผลการเรียนรู้ ค้นคว้าเพิ่มเติม สรุปองค์ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ เป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเองและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่น ๆ ได้
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีดังนี้
    2.1 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2.2 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) มีความสามารถด้านสารสนเทศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) มีความสามารถด้านอภิปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     2.4 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์) มีความคงทนในการเรียนรู้
    จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 STEPS ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสังคมศึกษา 5 รหัสวิชา ส33101 (สาระภูมิศาสตร์)มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยทุกประการ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^