การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Ga
ผู้ศึกษา นางทิพย์มณฑา มุจรินทร์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคTGT (Teams-Games-Tournaments) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Games-Tournaments) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Games-Tournaments) เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Games-Tournaments) กลุ่มสาระการเรียนยรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Games-Tournaments) เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 เครื่องมือ ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Games-Tournaments) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผนการเรียนรู้ เวลา 20 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.40 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40-0.60 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 จำนวน 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT (Teams-Games-Tournaments) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อมีอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.48 – 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.84 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน