LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงาน นายพายุ วรรัตน์

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง : น้อมนำปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนขมิ้นพิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้ศึกษา นายพายุ วรรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน 2562

บทคัดย่อ

    รายงานประเมินโครงการนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการการประเมินโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง : น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนขมิ้นพิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรในการประเมิน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน ผู้บริหาร จํานวน 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 23 คน นักเรียน จํานวน 220 คน ผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 220 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 13 คน ปีการศึกษา 2562
เครื่องมือที่เก็บข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับประเมินด้านบริบท ฉบับที่ 2 สำหรับประเมินปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 สำหรับประเมินกระบวนการ ฉบับที่ 4 สำหรับประเมินผลผลิต ฉบับที่ 5 สำหรับประเมินความพึงพอใจ และฉบับที่ 6 สำหรับประเมินผลกระทบและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
    ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
    มีผลการประเมินโครงการ ดังนี้
    1. ด้านบริบทพบว่าในภาพรวมผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือวัตถุประสงค์ของ โครงการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
     2. ด้านปัจจัยนําเข้า พบว่า 2.1 ในภาพรวมผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินปัจจัยนําเข้าของโครงการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความพร้อม ในการดําเนินโครงการ รองลงมาคือระยะเวลาในการดําเนินโครงการมีความเหมาะสม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคืองบประมาณในการดําเนินโครงการมีเพียงพอ 2.2 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าจากผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการโดยการทดสอบความรู้ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.89 คะแนน
    3. ด้านกระบวนการ พบว่าในภาพรวมของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการวางแผนการดําเนินโครงการสู่การปฏิบัติ รองลงมาคือผู้บริหารมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือขณะดําเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุง วิธีการดําเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่องและโรงเรียนมีการขยายผลลงสู่ ชุมชน / เผยแพร่
    4. ด้านผลผลิต พบว่า 4.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อน และหลังดําเนินโครงการพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนพบว่าค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 ผลการประเมินผลผลิตของ 10 กิจกรรมในภาพรวมผลการประเมินผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบ พบว่าผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สามารถเลือกแนวทางและการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือสามารถนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในการทํางานและส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
    สรุปได้ว่า โครงการการประเมินโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง : น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนขมิ้นพิทยาสรรพ์ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรดำเนินเป็นโครงการต่อเนื่องต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^