รูปแบบการบริหารโดยใช้ เครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียน
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก สมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย : นายรังสรรค์ ยังน้อย
ปี ที่วิจัย : ปี การศึกษา 2562 - 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก สมุทรปราการ วิธีด าเนินการวิจัย
มี4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลสภาพการบริหารวิทยาลัย และแนวทางการบริหารโดยใช้
เครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก
สมุทรปราการ โดยการสังเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 9 คน 2) พัฒนา
รูปแบบการบริหารโดยใช้ เครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีวศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก สมุทรปราการ โดยการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ
การพัฒนารูปแบบ จ านวน 14 คน ตรวจสอบและประเมินร่างรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
จ านวน 9 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบด้วยการด าเนินโครงการ จ านวน 7 โครงการ ในปี การศึกษา 2563
และสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบ รวมจ านวน 110 คน ด้วยการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเจาะจง และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ โดยใช้แบบบันทึกค่าร้อยละ และแบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารวิทยาลัย และแนวทางการบริหารโดยใช้เครือข่ายความ
ร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก สมุทรปราการ สรุปได้
ว่า รูปแบบ ประกอบด้ วย องค์ประกอบที่ 1 ปั จจัยน าเข้ า องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ และ
องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต โดยจะมีองค์ประกอบย่อยในแต่ละองค์ประกอบหลักทั ้ง 3 องค์ประกอบ
2. ผลการพัฒนารูปแบบ มีความเหมาะสม และมีความเป็ นไปได้ ประกอบด้ วย 3
องค์ประกอบหลัก ดังนี ้ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยน าเข้า มี 3องค์ประกอบย่อย คือ 1) องค์คณะบุคคล
เครือข่ายความร่วมมือ2) บุคลากรวิทยาลัย (คณะท างาน) และ 3) งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์
องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ มี 4องค์ประกอบย่อย คือ 1) นโยบายการเพิ่มปริมาณผู้เรียน 2) การ
พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 3) ขอบข่ายภารกิจเครือข่ายความร่วมมือและ 4) กระบวนการบริหาร
เครือข่ายความร่วมมือ และองค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต มี 4องค์ประกอบย่อย คือ1) ผลการส่งเสริมการ
เรียนต่อสายอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนของวิทยาลัย 2) ความเข็มแข็งของเครือข่ายความ
ร่วมมือ3) สมรรถนะการท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ และ 4) ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้คู่มือการ
ใช้รูปแบบ และเงื่อนไขสู่ความส าเร็จ3 ประการ ได้แก่ 1) การบริหารบุคลากรวิทยาลัย (คณะท างาน)
ให้มีสมรรถนะการท างานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ 2) การให้ความร่วมมือขององค์คณะบุคคลเครือข่าย
ความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็งอย่างเป็ นระบบและต่อเนื่อง และ 3) การจัดสรรงบประมาณ/วัสดุ
อุปกรณ์ สนับสนุนการด าเนินงานตามรูปแบบ มีอย่างเพียงพอ และได้คุณภาพ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ด้วยการด าเนินโครงการ 7 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนา
ขีดความสามารถของครูในการจัดการเรียนการสอน 2) โครงการศูนย์ซ่อมสร้ างเพื่อพัฒนาโรงเรียน
เครือข่ายความร่วมมือและชุมชน 3) โครงการแนะแนวเส้นทางความก้าวหน้าเพื่อการประกอบอาชีพ
(Career Path) 4) โครงการนักเรียนกลุ่มเป้ าหมายเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย 5)
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านอาคารสถานที่ภายในวิทยาลัย 6) โครงการประชาสัมพันธ์สร้างแรงจูงใจ
ให้เกิดการตัดสินใจเข้าเรียนต่ออาชีวศึกษา และ 7) โครงการหลักสูตรระยะสั ้นเข้าถึงกลุ่มเป้ าหมายการ
เลือกเรียนต่อสายอาชีวศึกษา ผลการทดลองพบว่า ในภาพร่วมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
โครงการที่มีความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ โครงการที่ 7 ส่วนการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการปฏิบัติ
ตามรูปแบบ โดยภาพร่วมการปฏิบัติตามรูปแบบอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีการปฏิบัติตาม
รูปแบบมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต
4. ผลประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า
1. ผลการส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนของวิทยาลัย ในปี
การศึกษา 2564 มีจ านวนนักเรียนนักศึกษาเพิ่มขึ ้นร้อยละ 35.80 เมื่อเทียบกับปี การศึกษา 2563
2. ความเข็มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือ โดยภาพร่วมมีความเข้มแข็งอยู่ในระดับมาก
ที่สุด ข้อที่มีความเข้มแข็งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สมาชิกมีภาวะผู้น าในการด าเนินงาน
3. สมรรถนะการท างานเป็ นทีมที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรวิทยาลัย (คณะท างาน)
โดยภาพร่วมมีสมรรถนะอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีสมรรถนะค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการส่งเสริม
สนับสนุนและไว้วางใจกัน
4. การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้คู่มือการใช้รูปแบบ โดยภาพร่วมมีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุด