การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์บนฐาน Technolo
ผลการวิจัย พบว่า
1. แนวคิดแนวคิดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์บนฐาน Technology-Enhanced Learning (TEL) ร่วมกับการประเมินเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน มีการบูรณาการเทคโนโลยี ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและผู้ชี้แนะ ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย รับผิดชอบและกำกับตนเองในการเรียนรู้ มีการสะท้อนคิดเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ให้ดีขึ้น ผู้สอนต้องออกแบบการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน ผู้เรียนกลุ่มเก่งและปานกลางควรส่งเสริมให้เป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่มอ่อน
2. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า 1)รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์บนฐาน Technology-Enhanced Learning (TEL) ร่วมกับการประเมินเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างมีชื่อว่า WARUNYA Model มีกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน (Warm up) ขั้นที่ 2 กระตุ้นความรู้เดิม (Activation of prior knowledge) ขั้นที่ 3 ระบุจุดประสงค์การเรียนรู้ (Rehearse the objective) ขั้นที่ 4 ทำความเข้าใจสถานการณ์ (Understanding situation) ขั้นที่ 5 ร่วมกันคิด (Notion Together) ขั้นที่ 6 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Your knowledge exchange) และขั้นที่ 7 การยอมรับสิ่งที่ค้นพบ (Acceptance Finding) 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, = 0.58) และ 3) เมื่อนำรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7377
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักเรียน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) จำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มเกล่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำนวนนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนมีแนวโน้มลดลง
4. ผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ไปขยายผล พบว่า 1) นักเรียน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) จำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหากลุ่มเกล่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำนวนนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนมีแนวโน้มลดลง