การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ผลจากการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิดทฤษฎีในการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ได้กรอบองค์ประกอบของรูปแบบการสอน 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) เนื้อหาสาระของรูปแบบการสอน 4) กิจกรรมและกระบวนการเรียนการสอน 5) การวัดและประเมินผล เพื่อให้ได้รู้แบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในส่วนการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ 4 ประการ คือขั้นตอนของรูปแบบ (Syntax หรือ Phases) เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนการสอนหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีลำดับขั้นดังนี้ 1) เตรียมความพร้อมของผู้เรียน (Preparation) 2) ดึงความคิดเพื่อระบุคำถามหรือความรู่ใหม่ที่ต้องการ (Engagement) 3) กำหนดแนวทางและปฏิบัติในการสร้างความรู้ใหม่ (Practice) 4) สรุปประเด็นโครงสร้างใหม่ทางปัญญาด้วยตนเอง (Conclusion) 5) ขยายโครงสร้างทางปัญญาหรือความรู้ใหม่ (Elaboration) และ 6) นำความรู้ใหม่ไปใช้ (Extension) โดยครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต้องการผู้เรียนเผชิญคำถามหรือสถานการณ์ที่ต้องการคำตอบ ให้ทุกคนในกลุ่มได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และปฏิบัติเท่าเทียมกัน ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดในเรื่องที่เรียน นำไปสู่การค้นคว้าจนเกิดทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม และผลการสนทนากลุ่มและการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู มีความคิดเห็นคล้ายกันโดยสรุป คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ครูใช้วิธีสอน โดยให้นักเรียนสังเกตสิ่งของที่ครูเตรียมม และจะใช้คำถามถามนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ผลการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนเรียนรู้ จากการสังเกตสิ่งของที่ครูเตรียมมาและปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล ปัญหาที่เกิดในระหว่างการเรียนรู้ของนักเรียน โดยส่วนใหญ่ต่างคนต่างเร่งทำงานของตนเองให้เสร็จจึงไม่คำนึงถึงเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
2. รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับ Active Learning & DLIT คุณภาพ Thailand 4.0 โดยยึดหลัก“ศาสตร์พระราชา” เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีชื่อว่า “MEEROD Model” มีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เป็นการเรียนตามตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับ Active Learning & DLIT คุณภาพ Thailand 4.0 โดยยึดหลัก“ศาสตร์พระราชา” มีกระบวนการความคิดได้มาจากหลายๆ วิธีการ สร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน วางแผน ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับผู้เรียน สร้างความคิดที่ทั้งเป็นความคิดเสริมจากเดิม และความคิดก้าวหน้าใหม่ๆ โดยผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ และช่วยให้นำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวันได้ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม 3) องค์ประกอบของกระบวนการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 จูงใจเพื่อการเรียนรู้ (Motivation in learning: M) ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (Exploration: E) ขั้นที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchanging knowledge: E) ขั้นที่ 4 ทบทวนเพื่อออกแบบ (Review for a solution design: R) ขั้นที่ 5 ประเมินผลภาพรวม (Overview assessment: O) ขั้นที่ 6 การพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ (Development and application: D) 4) การวัดและประเมินผล ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงาน ใช้สื่อการเรียนการสอนจากผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยเป็นหลัก และกิจกรรมขบคิดที่นำมาใช้กับนักเรียนเป็นแบบจำลอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยพบว่า รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ (MEEROD Model) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.40/84.50
3. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 3.1) หลังเรียนความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการขยายผลรูปแบบพบว่า หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด