เทคนิคบริหารจัดการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์กลยุทธ์ ACSA Smart School
คุณภาพการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านโนนโพธิ์
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปุณยวีร์ จิตศรัทธา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอาจสามารถ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
โรงเรียนที่ทำการศึกษาค้นคว้า โรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) เทคนิคบริหารจัดการสถานศึกษาด้วย
ยุทธศาสตร์กลยุทธ์โมเดล ACSA Smart School เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 สำหรับเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเภทมาตรา
ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น > 0.95 ระดับความมั่นใจที่กำหนดไว้ 99 % (= .01) แบบสอบถามและ
แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความเชื่อมั่น
ของเครื่องมือสัมประสิทธิ์แอลฟา และการทดสอบสมมุติฐานค่า t-testจุดมุ่งหมายในการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
กระทบต่อผลการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ด้วยการ
นำเทคนิคการใช้นวัตกรรมการบริหารกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสถานศึกษา ACSA Smart School
Model ลงสู่การปฏิบัติภายในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์และศึกษาเจตคติความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการให้
ข้อมูลป้อนกลับ (Reflect) โรงเรียนในการนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน บ้านโนนโพธิ์ จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม
ผู้จัดการศึกษา กลุ่มผู้รับบริการทางการศึกษา และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีจำนวนประชากรรวม
ทั้งสิ้น จำนวน 96 คน มาเข้าสูตรเพื่อคำนวณหาระดับความมั่นใจที่กำหนดไว้ 99 % (ระดับ .01) ความคลาดเคลื่อนพอ
อนุโลมได้ 5 % ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 69 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การตรวจหา
ความเชื่อมั่นเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (- Coefficient) ด้วยวิธีการของ Cronbach การตรวจสอบ
วิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลทางสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ในภาพรวมมี
ค่าเฉลี่ย =92.33และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 9.5ตลอดจน การทดสอบสมมุติฐานค่าวิกฤติแจกแจง t –test เพื่อ
การตรวจสอบสมมุติฐานของการวิจัย กรณีค่าวิกฤติ t ที่ระดับ .01 df 68 (การทดสอบแบบหางเดียว) จากการเปิด
ตารางค่าวิกฤติ n>60 โดยใช้การเทียบบัญญัติไตรยางค์ค่าวิกฤติ t ที่ระดับ .01 df 68 = 2.389 สรุปผลการคำนวณ
ทดสอบสมมุติฐานค่าวิกฤติ t –test = 16.08จากการเปรียบเทียบปรากฏว่า ค่า t-test ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่า
วิกฤติแจกแจง t ที่กำหนด แสดงว่า ยอมรับสมมุติฐานในการวิจัยพัฒนา (R&D)
สรุป ผลการวิจัยและพัฒนา (R&D) พบว่าการวิจัยและพัฒนาเทคนิคบริหารจัดการสถานศึกษา ด้วย
กลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียน
ประถมศึกษาขนาดเล็ก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเทคนิควิธีการนำนวัตกรรม ACSA Smart School Model
ลงสู่การปฏิบัติภายในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ปีการศึกษา 2563ผลประเมินหลังการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาดังกล่าว
สูงกว่าก่อนการนำนวัตกรรมไปใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ก่อให้เกิดผลที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ภายในโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ในภาพรวมร้อยละ 92.33 อยู่ในระดับ “ดีมาก”
นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อมูลป้อนกลับได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน
บ้านโนนโพธิ์ เพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต