LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีง

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563
ผู้รายงาน     นายอนุชิต พงค์เกื้อ
     ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง
     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562-2563

บทสรุป
    
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ โดยใช้กลยุทธ์ NCS โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2562-2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามและประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 4.1) คุณภาพในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 4.2) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 4.3) ทักษะอาชีพของนักเรียน ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ในปีการศึกษา 2562-2563 และ 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 118 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 134 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 118 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 134 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.87- 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติสำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 15% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. = 0.44) ส่วนกลุ่มครู อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.12,  = 0.46) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72,  = 0.18) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.71, S.D. = 0.21) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของครู ค่าน้ำหนัก 15% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12,  = 0.40) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ประเด็นตัวชี้วัดด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.28,  = 0.48) รองลงมาคือ ด้านความพร้อมของบุคลากรอยู่ในระดับมาก ( = 4.21,  = 0.45) ส่วนด้านความเพียงพอของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.94,  = 0.49) ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71,  = 0.14) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามประเด็นตัวชี้วัด พบว่า ประเด็นตัวชี้วัดด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80,  = 0.20) รองลงมาคือ ด้านความพร้อมของบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78,  = 0.28) ส่วนด้านความเพียงพอของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.60,  = 0.30)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 20% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.22) รองลงมาคือ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.13,  = 0.44) ส่วนกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากัน คือกลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.52) และกลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.08, S.D. = 0.55) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.78,  = 0.16) รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.15) และกลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.22, S.D. = 0.60) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 15% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.28) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.43) และกลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.43) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.93,  = 0.42) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.75, = 0.14) รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.16) และกลุ่มนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.18) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.66, S.D. = 0.16) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.2 ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 10% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.34) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.35) และกลุ่มผู้ปกครอง มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D. = 0.39) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.01,  = 0.41) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77,  = 0.20) รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.23) และกลุ่มนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.17) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.63, S.D. = 0.22) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3 ทักษะอาชีพของนักเรียน ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ค่าน้ำหนัก 15% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.09,  = 0.35) รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.06, S.D. = 0.44) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71,  = 0.17) รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.70, S.D. = 0.19) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 10% พบว่า ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.17,  = 0.41) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.29) และกลุ่มผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.32) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.02, S.D. = 0.42) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80,  = 0.23) รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.25) และกลุ่มนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.16) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.71, S.D. = 0.18) โดยทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน    

ข้อเสนอแนะ
    1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
    โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง โดยใช้กลยุทธ์ NCS เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพที่หลากหลายรูปแบบ ภายใต้กลยุทธ์ 3 ด้าน เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียน ซึ่งแต่ละด้านมีข้อเสนอแนะดังนี้
    ด้าน Network Study : N (การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพนอกชั้นเรียน) ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้ปราชญ์ชาวบ้าน และสถานประกอบการในชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ร่วมวางแผนการดำเนินงาน และทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของปราชญ์ชาวบ้าน และสถานประกอบการในการดูแลนักเรียนที่ไปฝึกทักษะทางด้านอาชีพ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน ร่วมมือในการแก้ปัญหาของนักเรียน ให้ความคิดเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการฝึกทักษะอาชีพของนักเรียน และประเมินทักษะอาชีพของนักเรียนร่วมกับครูที่รับผิดชอบ
    ด้าน Classroom Study : C (การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพในชั้นเรียน) ผู้บริหารสถานศึกษาควรชี้แจงทำความเข้าใจ สร้างความร่วมมือ สนับสนุนงบปะมาณให้เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีพ ในส่วนของครูควรกระตุ้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน
    ด้าน Self Study : S (การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพด้วยตนเอง) ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ควรจัดประชุมทำความเข้าใจกับนักเรียนถึงบทบาทหน้าที่ของนักเรียนในการเรียนรู้ทางด้านอาชีพตามรูปแบบที่โรงเรียนได้วางไว้ และครูต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักเรียนขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพด้วยตนเอง
     การดำเนินการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพทั้ง 3 รูปแบบ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการประสานงานที่ดีและเข้าใจตรงกันของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งควรมีการประเมินทักษะอาชีพของนักเรียน ตามตัวชี้วัดที่โรงเรียนกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียน
1.3 ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียนอย่างหลากหลายตามความสนใจของนักเรียนแต่ละคน

    2.    ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
        2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
    2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
        2.3 ควรมีการศึกษาวิจัย ประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการทุกโครงการมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^