พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพโรงเรียนบ้านทม
นักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน
โรงเรียนบ้านทม
ประเภทของผลงาน นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สายงาน การบริหารสถานศึกษา
ชื่อผู้วิจัย นายภิรวัฒน์ ดาษดา
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
ในการศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทม 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทมและ4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทม กลุ่มเป้าหมายคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ในโรงเรียนต้นแบบการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษอาชีพของผู้เรียน 3 โรงเรียน จำนวน 45 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศึกษาที่เป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียน จำนวน 7 คน และนำไปทดลองใช้ในโรงเรียนบ้านทม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มเป้าหมายคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและภาคีเครือข่ายความร่วมมือ จำนวน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูล แบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของร่างรูปแบบ แบบประเมินรูปแบบก่อน-หลังการพัฒนา แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบวัดความสามารถในการใช้ทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัจจุบันและวิธีการในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพมี 12 องค์ประกอบ คือ แนวคิดพื้นฐาน การบริหารจัดการ หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เงื่อนไขความสำเร็จ ทักษะอาชีพด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว ด้านการริเริ่มและกำกับตนเองได้ ด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม ด้านการมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทม ที่สร้างขึ้น มี 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) เป้าหมาย 3) จุดมุ่งหมาย 4) พฤติกรรมบ่งชี้ทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 5) กลไกการดำเนินการ 6) การดำเนินการ 7) การประเมินผลและ 8) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งผลจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินรูปแบบพบว่า การพัฒนาตามองค์ประกอบของรูปแบบมีระดับการพัฒนาเพิ่มขึ้น นักเรียนแสดงออกถึงพฤติกรรมบ่งชี้ทักษะอาชีพและความสามารถในการใช้ทักษะอาชีพ มีระดับการพัฒนาเพิ่มขึ้น ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและภาคีเครือข่ายความร่วมมือที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเป็นฐาน โรงเรียนบ้านทม โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก