การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านทม
ของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านทม
ประเภทของผลงาน นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สายงาน การบริหารสถานศึกษา
ชื่อผู้ศึกษา นายภิรวัฒน์ ดาษดา
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2562-2563
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม 2) ประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม 3) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม และ4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 คน ผู้ปกครองนักเรียน 40 คน นักเรียน 40 คน รวม จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ประกอบด้วย ความเที่ยงตรงของเนื้อหา (IOC) และค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน โดยใช้ค่าสัมประสทธิ์แอลฟา ตามวิธีของคอนบาค
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.35)
2. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) พบว่า โดยรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.34)
3. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) พบว่า โดยรวมมีความพอเพียงเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.39)
4. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) พบว่า โดยรวมพบว่ามีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.37)
5. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านผลผลิต (Product evaluation) มีผลการประเมิน ดังนี้
5.1 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านผลผลิต (Product evaluation) ด้านคุณภาพการเรียนของนักเรียนโดยรวมพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.97)
5.2 ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงขึ้นมากกว่าปี 2562 ร้อยละ 7.37 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับชาติ ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับชาติร้อยละ 0.15 และในปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติร้อยละ 3.07
5.3 ผลการทดสอบระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับชาติ ปีการศึกษา 2562–2563 พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ร้อยละ 12.83 และปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติคิดเป็นร้อยละ 4.31
5.4 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนใน 5 กลุ่มสาระการ เรียนรู้หลัก พบว่า ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 คิดเป็นร้อยละ 7.09
5.5 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านผลผลิต (Product evaluation) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียนโดยรวมพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.42)
5.6 ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทม ด้านผลผลิต (Product evaluation) ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ของนักเรียนโดยรวมพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.48)