การพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
นักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครสวรรค์ เขต 1
ผู้วิจัย ศุนิษา มาลัยทอง
ปีที่ทำวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 (4) เพื่อประเมินรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ศึกษาจากประชากรคือ ผู้บริหาร/รักษาการผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีนักเรียนจำนวน 40-119 คน ทั้งหมด 88 โรงเรียน จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor Analysis: EFA) 2) สร้างรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน โดยใช้แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือแบบตรวจสอบรายการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาค่าความถี่และค่าร้อยละ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 6 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 62 คน ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกคะแนน สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 4) ประเมินรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด คือครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียบบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 62 คน รวมจำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบประเมินรูปแบบ ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 61 ตัวบ่งชี้ สามารถกำหนดเป็น 5 องค์ประกอบและตั้งชื่อองค์ประกอบได้ดังนี้ 1) การเป็นผู้นำ จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 2) การมีส่วนร่วม จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ 3) การมีองค์ความรู้ จำนวน 24 ตัวบ่งชี้ 4) การนิเทศติดตามผล จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ และ 5) การรายงานผล จำนวน 5 ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียน
บ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ) การเป็นผู้นำ 2) การมีส่วนร่วม 3) การมีองค์ความรู้ 4) การนิเทศติดตามผล และ 5) การรายงานผล และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 มีความเหมาะสม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 พบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้น 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น 3) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีการจัดการอารมณ์และความเครียดเพิ่มขึ้น และ 4) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินเวียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ตามลำดับ