LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยวิธีการเรียนแบบ

usericon

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัย นางสาวณัฐธิดา จิตสิงห์ โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา(Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1-3 โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท22102 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 65 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท22102 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งการจัดนักเรียนแต่ละห้องเรียนเป็นการจัดนักเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียน แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประเมินความเป็นมาและความสำคัญ และองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ t – test Dependent Sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนในการพัฒนา 4 ขั้นตอนโดยใช้ระเบียบวิจัยและการพัฒนา (Research and Development : R&D) คือ ขั้นที่ 1 การวิจัย (Research: R1) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) : การพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นที่ 3 การวิจัย (Research : R2) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ขั้นที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) : การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) ทฤษฎีการรับรู้ และการเข้าใจตนเอง (Metacognition Theory) และทฤษฎีประมวลผลข้อมูล (Information Processing Theory) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ หลักการ คือ นำววิธีการเรียน แบบร่วมมือเทคนิค STAD มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการด้านการเขียน และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สารที่ 2 การเขียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การนำเสนอในชั้นเรียน ขั้นที่ 2 การเรียนเป็นกลุ่ม ขั้นที่ 3 การทดสอบ ขั้นที่ 4 คะแนนความก้าวหน้ารายบุคคล ขั้นที่ 5 การยกย่องความสำเร็จของกลุ่ม ครูมีบทบาทกระตุ้นเสริมแรงและให้การสนับสนุนการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีบทบาทในการกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและทำกิจกรรมกลุ่มแบบร่วมมือกันเรียนรู้ การวัดและประเมินผลโดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนจำนวน 25 คน ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.44/81.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D = 1.06) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านครูผู้สอน ( = 4.22, S.D = 1.04) ด้านเนื้อหา ( = 4.20, S.D = 0.99) ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ( = 4.19, S.D = 1.10) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ( = 4.18, S.D = 1.02) และด้านการวัดและการประเมินผล ( = 4.14, S.D = 1.18) 4. ผลการประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประเมินโดยนักเรียนหัวหน้ากลุ่ม พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก 5. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมในระดับมาก

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้, วิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD,
การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเขียนสะกดคำยาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^