การเขียนสะกดคำ/แบบฝึกทักษะ/วิธีการสอนแบบพหุปัญญา/เกมการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด คำสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียน ชุด คำสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิธีการสอนแบบพหุปัญญาและเกมการศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ วิธีการสอนแบบพหุปัญญาและเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 29 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระยะเวลาในการทดลอง 12 คาบ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด คำสร้างสรรค์ ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอนแบบพหุปัญญาและเกมการศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย (ท 12101) เรื่อง คำสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการสอน แบบพหุปัญญาและเกมการศึกษา ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.53-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.25-0.43 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ วิธีการสอนแบบพหุปัญญาและเกมการศึกษา จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.829 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเชื่อมั่นแบบวิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ค่าความเชื่อมั่น แบบสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Coefficient) และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน t-test dependent
ผลการวิจัยว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ชุด คำสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.08/84.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ วิธีการสอนแบบพหุปัญญาและเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การเขียนสะกดคำ วิธีการสอนแบบพหุปัญญาและเกมการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด