LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักต

usericon

ชื่องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม
เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย        นางสุภาภรณ์ หมั่นถนอม
สถานศึกษา    โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการวิจัย    2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 102 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวนคน 34 คน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่มีxxxส่วนของนักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนเท่าๆ กัน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทศนิยมและเศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนทั้งหมด 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย
        1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์/ขั้นตอนในการเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยนำเอาความรู้ใหม่และความรู้เดิมมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียนแบบร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่มสร้างสรรค์ผลงาน สามารถนำเสนอได้ มีการวัดและประเมินผลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสร้างความคิดรวบยอดใหม่ โดยมีความรู้ปัจจุบัน และความรู้ในอดีตเป็นฐาน การเรียนรู้เรื่องใหม่ ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง จากการได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ คือ 1)หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนด้วยเกมส์ออนไลน์ word wall ขั้นที่ 2 ตะลุยความคิดด้วยเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ขั้นที่ 3 ระดมความคิดแก้ไขปัญหา ขั้นที่ 4 ผังมโนทัศน์เชื่อมความคิดที่หลากหลาย ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 6 ฝึกฝนทักษะและนำไปใช้ และ 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้ (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดย ใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70
        4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวัดความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.55, S.D. = 0.69) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^