LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะกา

usericon

หัวข้อการศึกษา    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา        นางสาวชนากานต์ กลองวงษ์
ตำแหน่ง     ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีการศึกษา            2564

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน มีผู้เรียน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ความสามารถทางทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ค่าดัชนีประสิทธิผล และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) สาเหตุของปัญหาการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย จากการสนทนากลุ่ม พบว่า มีสาเหตุมาจาก 4 ประการคือ ประการแรก ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนขาดการสร้างบรรยากาศเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดในการใช้ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนภาษาไทย ขาดกลวิธีการสอนอ่าน คิดวิเคราะห์ และการสอนเขียนที่ทำให้นักเรียนสามารถอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทยที่สามารถแยกประเด็น ข้อเท็จจริงจากเรื่องราวที่ได้อ่าน รวมทั้งไม่มีการสอนกับแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ภายในห้องเรียนยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวก ประการที่สอง ด้านสื่อการสอนภาษาไทย พบว่า ยังขาดการใช้สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีร่วมกับการสอนและการทำกิจกรรมนั้นไม่มีการใช้เทคโนโลยีร่วม ทำให้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูไม่สามารถเชื่อมโยงกับสื่อการสอนที่ทันสมัย ได้ส่งผลทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สาม ด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของครู พบว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการสอนวิชาภาษาไทย ครูยังขาดเทคนิคด้านการสอนที่ใหม่ๆ ส่งผลทำให้นักเรียนไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งครูต้องมีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ มีความเสียวสละ เปิดโอกาสให้นักเรียนกล้าแสดงออก เน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาเป็น รวมทั้งจ้องมีการพัฒนาและปฏิรูปการสอนเพื่อการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทยได้ และประการสุดท้าย พบว่า นักเรียนอ่านคำไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ และสะท้อนความรู้ความคิด ความรู้สึกได้ และสามารถใช้กระบวนการเขียนสื่อสารแสดงถึงความเข้าใจในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้อ่าน หรือสิ่งที่ได้ดำเนินงานด้วยการนำเสนอออกมาในรูปแบบของการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความสนใจในการเรียนรู้ภาษาไทย ทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนวิชาภาษาไทย และจากการสัมภาษณ์ครูสอนวิชาภาษาไทย พบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในทักษะการคิด เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาภาษาไทยที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ และต้องการมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย จากความต้องการดังกล่าวจึงทำให้เกิดรูปแบบการสอนวิชาภาษาไทย โดยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
        2.1 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ และขั้นตอนการจัดกิจกรรม 8 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (C – Condition) ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้อย่างมีความสุข (H- HAPPILY) ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้ลงมือทำ (A – Active) ขั้นที่ 4 ขั้นกำหนดคำตามความต้องการ (N- Needs) ขั้นที่ 5 ขั้นทดสอบความสามารถ (A- Ability) ขั้นที่ 6 ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (K– Knowledge Transfer) ขั้นที่ 7 ขั้นสรุปการเรียนรู้ (A- Abstract) และขั้นที่ 8 ขั้นบันทึกประเมินผลการเรียนรู้(N- NOTE) โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่อง น้องรักนักเขียน เล่มที่ 2 เรื่อง น้องน้อยนักอ่าน เล่มที่ 3 เรื่อง โอ๊ะ อ๋อ อ้อ เล่มที่ 4 เรื่อง ถามมาตอบไป และเล่มที่ 5 เรื่องจะมีอะไรในเรื่องนี้
        2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลการทดลองแบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.49/83.33 ผลการทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.13/88.52 และผลการทดลองแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.53/85.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
     3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.10/85.14 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
        3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.75 ซึ่งหมายความว่านักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น 0.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.00
    4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน Chanakan Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
        4.1 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ก่อนเรียนมีคะแนนเท่ากับ 13.83 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 26.00 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนน หลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
        4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการอ่าน การเขียน และการ คิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^