ผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ แบบ SQ4R สื่อประสม_ครูขวัญใจ
ชื่อวิจัย: ผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่าน
เทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม
ผู้วิจัย: นางสาวขวัญใจ นวลปาน ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
ปีที่วิจัย: 2562
การพัฒนาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา ไว้ดังนี้ 1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม 2)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 หน่วย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2)แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม จำนวน 20 แผน ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบประเภทหลายตัวเลือก (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4)แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบค่าซี (Z-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.76/81.18
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านด้านการอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R ประกอบการใช้สื่อประสม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือที่มุ่งประสบการณ์ทางภาษาร่วมกับการสอนอ่านเทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการใช้สื่อประสม มีระดับพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.22, S.D=0.65)