ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียน
อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ประจวบคิรีขันธ์ เขต 2
ผู้วิจัย นายวสันต์ สืบสุทธา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านปากเหมือง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคิรีขันธ์ เขต 2 มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครอง
ในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านปากเหมือง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคิรีขันธ์ เขต 2 และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัย
การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านปากเหมือง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามอาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากเหมืองที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 103 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านปากเหมือง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน ด้านบุคลากร
ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก โดยเรียงระดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านการจัดการเรียน
การสอน ตามลำดับ สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากร
2. ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนบ้านปากเหมือง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามอาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05