ผลการใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องห.ร.ม.และค.ร.น. ร.ร.บ้านแบรอ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวซัลมา สือแม
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านแบรอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. จำนวน 18 แผน ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบค่าที (t-test dependent groups)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.14/81.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบรอ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด